วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นักปราชญ์ในครั้งนั้นได้สรรหา คำสุภาษิตที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัย  ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย โดยแต่งเป็นคำประพันธ์ คำโคลงทุกคาถา  รวมเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่บรรพบุรุษของไทยนับถือ นำไปเล่าเรียน สั่งสอน และประพฤติปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง เป็นที่รู้จักกันดี ในหมู่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสถานะอาชีพต่อเนื่องกันมาช้านานจนถึงปัจจุบัน

     เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ ทรงมี        พระราชประสงค์จะให้ จารึกโคลงโลกนิติลงในแผ่นศิลาในวัดพระเชตุพนฯ เป็นธรรมทาน จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติของเก่ามาชำระแก้ไขใหม่ ให้เรียบร้อยปราณีตและไพเราะ เพราะของเก่าที่คัดลอกต่อ ๆ กันมา ปรากฎว่ามีถ้อยคำที่วิปลาศคลาดเคลื่อนไปมาก
     สุภาษิตที่ปรากฎในโคลงโลกนิติ ล้วนเป็นภาษิตที่นิยมนับถือกันว่า เป็นภาษิตที่เหมาะสม ที่จะใช้เป็นหลักประพฤติปฏิบัติ และนำไปสั่งสอนกันต่อไป
 
 
    ครรโลงโคลงโลกนิตินี้
มีแต่โบราณกาล 
เป็นสุภาษิตสาร 
กลดั่งสร้อยสอดคล้อง
  นมนาน 
เก่าพร้อง 
สอนจิต 
เวี่ยไว้ในกรรณ
 
   ทศนัขนอบน้อมมิ่ง
ไตรรัตน์จัดเบญจางค์  
จักพร้องโลกนิติปาง 
อรรถอื่นอ้างเลศล้อม
  อุตมางค์ 
แจ่มพร้อม 
สดับแต่  เดิมพ่อ 
ต่างต้องคัมภีร์
 
ถวายกรกรรพุ่มเพี้ยง
ไตรรัตน์เรียบไตรทวาร 
โลกนิติสืบสาร 
เตือนจิตสาธุชนเช้า
  บวรมาลย์มิ่งแฮ 
เวียดเกล้า 
ของเก่า 
ค่ำค้ำชูใจ
 
โลกนิติในโลกล้วน
คือบิดามารดาอาจารย์  
เชาเจ้าจ่อมใจบาณ 
เบิกศิลปปรีชาแท้
  แก่นสาร 
เจี่ยวแล้ 
ทิตร่ำ  เรียนแฮ 
เลิศแล้วเมธี
 
ปลาร้าพันห่อด้วย
ใบก็เหม็นคาวปลา 
คือคนหมู่ไปหา 
ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง
  ใบคา 
คละคลุ้ง 
คบเพื่อน  พาลนา 
เฟื่องให้เสียพงศ์
 
ใบพ้อพันห่อหุ้ม
หอมระรวยรสพา 
คือคนเสพเสน่หา 
ความสุขซาบฤาม้วย
  กฤษณา 
เพริศด้วย 
นักปราชญ์ 
ดุจไม้กลิ่นหอม
 
ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้
ภายนอกแดงดูฉัน 
ภายในย่อมแมลงวัน 
ดุจดังคนใจร้าย
  มีพรรณ 
ชาดบ้าย 
หนอนบ่อน 
นอกนั้นดูงาม
 
ขนุนสุกสล้างแห่ง
ภายนอกเห็นหนามหนา  
ภายในย่อมรสา 
สาธุชนนั้นแล้
  สาขา 
หนั่นแท้ 
เอมโอช 
เลิศด้วยดวงใจ
 
ยางขาวขนเรียบร้อย
ภายนอกหมดใสสี 
กินสัตว์เสพปลามี 
เฉกเช่นชนชาติร้าย
  ดูดี 
เปรียบฝ้าย 
ชีวิต 
นอกนั้นนวลงาม
 
รูปแร้งดูร่างร้าย
ภายนอกเพียงพึงชัง  
เสพสัตว์ที่มรณัง 
ดังจิตสาธุชนกล้า
  รุงรัง 
ชั่วช้า 
นฤโทษ 
กลั่นสร้างทางผล
 
คนพาลผู้บาปแท้
ไปสู่หาบัณทิต 
ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์ 
คือจวักตักเข้า
  ทุรจิต 
ค่ำเช้า 
 บ่ทราบ ใจนา 
ห่อนรู้รสแกง
 
ผู้ใดใจฉลาดล้ำ
ได้สดับปราชญ์เจรจา  
ยินคำบัดเดี๋ยวมา 
คือมลิ้นคนผู้
  ปัญญา 
อาจรู้ 
ซับซาบ ใจนา 
ทราบรู้รสแกง
 
หมูเห็นสีหราชท้า
กูสี่ตีนกูพบ 
อย่ากลัวท่านอย่าหลบ 
ท่านสี่ตีนอย่าได้
  ชวนรบ 
ท่านไซร้ 
หลีกจาก กูนา 
วากเว้วางหนี
 
สีหราชร้องว่าโอ้
ทรชาติครั้นเห็นกู 
ฤามึงใคร่รบดนู 
กูเกลียดมึงกูให้
  พาลหมู 
เกลียดใกล้ 
มึงมาศ  เองนา 
พ่ายแพ้ภัยตัว
 
กบเกิดในสระใต้
ฤาห่อนรู้รสมาลย์ 
ภุมราอยู่ไกลสถาน 
บินโบกมาค้อยค้อย
  บัวบาน 
หนึ่งน้อย 
นับโยชน์  ก็ดี 
เกลือกเคล้าเสาวคนธ์
 
ใจชนใจชั่วช้า
ใจจักสอนใจเอง 
ใจปราชญ์ดัดตามเพลง 
ดุจช่างปืนดัดไม้
  โฉงเฉง 
ไป่ได้ 
พลันง่าย 
แต่งให้ปืนตรง
 
ไม้ค้อมมีลูกน้อม
คือสัปบุรุษสอนตาม 
ไม้ผุดังคนทราม 
ดัดก็หักแหลกแล้
  นวยงาม 
ง่ายแท้ 
สอนยาก 
ห่อนรื้อโดยตาม
 
เป็นคนควรรอบรู้
สองประการนิยม 
หนึ่งพาลหนึ่งอุดม 
สองสิ่งนี้จงให้
  สมาคม 
กล่าวไว้ 
นักปราชญ์ 
เลือกรู้สมาคม
 
คนใดไปเสพด้วย
จักทุกข์ทนเนานาน 
ใครเสพท่วยทรงญาณ 
เสวยสุขล้ำเลิศแท้
  คนพาล 
เนิ่นแท้ 
เปรมปราชญ์ 
เพราะได้สดับดี
 
ได้เห็นนักปราชญ์ไซร้
อยู่ร่วมเรือนหายทุกข์ 
ผู้พาลสั่งสอนปลุก 
ยลเยี่ยงนกแขกเต้า
  เป็นสุข 
ค่ำเช้า 
ใจดั่ง พาลนา 
ตกต้องมือโจร
 
จงนับสัปบุรุษรู้
จะละหลีกพาลอัน 
จงสร้างสืบบุญธรรม์ 
จงนึกนิตย์ชีพคล้าย
  บุญกรรม์ 
ชั่วร้าย 
ทุกเมื่อ 
ดุจด้วยฟองชล
 
คบกากาโหดให้
พาตระกูลเหมหงส์ 
คบคนชั่วจักปลง 
ตราบลูกหลานเหลนม้วย
  เสียพงศ์ 
แหลกด้วย 
ความชอบ  เสียนา 
ไม่ม้วยนินทา
 
มดแดงแมลงป่องไว้
งูจะเข็บพิษวาง 
ทรชนทั่วสรรพางค์ 
เพราะประพฤติมันเกี้ยว
  พิษหาง 
แห่งเขี้ยว 
พิษอยู่ 
เกี่ยงร้ายแกมดี
 
นาคีมีพิษเพี้ยง 
เลื้อยบ่ทำเดโช 
พิษน้อยหยิ่งโยโส 
ชูแต่หางเองอ้า
  สุริโย 
แช่มช้า 
แมลงป่อง 
อวดอ้างฤทธี
 
ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น
ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร 
คนเกียจเกลียดหน่ายเวียน 
กลอุทกในตระกร้า
  นักเรียน 
ผ่ายหน้า 
วนจิต 
เปี่ยมล้นฤามี
 
กละออมเพ็ญเพียบน้ำ
โอ่งอ่างพร่องชลชิง 
ผู้ปราชญ์ห่อนสุงสิง 
คนโฉดรู้น้อยก้อ
  ฤาติง 
เฟื่องหม้อ 
เยียใหญ่ 
พลอดนั้นประมาณ
 
งาสารฤาห่อนเหี้ยน
คำกล่าวสาธุชนยืน 
ทุรชนกล่าวคำฝืน 
หัวเต่ายาวแล้วสั้น
  หดคืน 
อย่างนั้น 
คำเล่า 
เล่ห์ลิ้นทรชน
 
ทรชนอย่าเคียดแค้น
อย่าห่างศัตรูชิด 
คือไฟถ่านแรงฤทธิ์ 
แม้นดับแล้วบ่ไหม้
  อย่าสนิท 
อย่าใกล้ 
ถือถลาก มือนา 
หม่นต้องมือดำ
 
มิตรพาลอย่าคบให้
พาลใช่มิตรอย่ามัก 
ครั้นคราวเคียดคุมชัก 
รู้เหตุสิ่งใดไซร้
  สนิทนัก 
กล่าวใกล้ 
เอาโทษ ใส่นา 
ส่อสิ้นกลางสนาม
 
หมาใดตัวร้ายขบ
อย่าขบตอบต่อหมา 
ทรชนชาติช่วงทา 
อย่าโกรธอย่าหน้าบึ้ง
  บาทา 
อย่าขึ้ง 
รุณโทษ 
ตอบถ้อยถือความ
 
ลูกสะเดาน้ำผึ้งซาบ
แล้วปลุกปองรสคนธ์ 
ตราบเท่าออกดอกผล 
ขมแห่งสะเดาน้อย
  โทรมปน 
แอบอ้อย 
พวงดก 
หนึ่งรู้โรยรา
 
พริกเผ็ดใครให้เผ็ด
หนามย่อมแหลมเองใคร 
จันทน์กฤษณาไฉน 
วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้
  ฉันใด 
เซี่ยมได้ 
ใครอบ  หอมฤา 
เพราะด้วยฉลาดเอง
 
จันทน์แห้งกลิ่นห่อนได้
อ้อยหีบชานยังหวาน 
ช้างเข้าศึกเสี่ยมสาร 
บัณทิตแม้นทุกข์ร้อย
  ดรธาน 
โอชอ้อย 
ยกย่าง งามนา 
เท่ารื้อลืมธรรม
 
ฝูงหงส์หลงเข้าสู่
สีหราชเคียงโคนา 
ม้าต้นระคนลา 
นักปราชญ์พาลพาเต้า
  ฝูงกา 
คลาดเคล้า 
เลวชาติ 
สีนี้ไฉนงาม
 
แมลงวันแสวงเสพด้วย
พาลชาติเสาะกิ่งรก 
ภุมราเห็จเหินหก 
นักปราชญ์ฤาห่อนหม้าย
  ลามก 
เรื่องร้าย 
หาบุษ บานนา 
หมั่นสู้แสวงธรรม
 
เนื้อปองน้ำหญ้าบ่
ลิงบ่ปองรัตน์ปอง 
หมูปองอสุจิของ 
คนเคลิบเคลิ้มบ้าใบ้
  ปองทอง 
ลูกไม้ 
หอมห่อน ปองนา 
ห่อนรู้ปองธรรม
 
กายเกิดพยาธิโรคร้าย
แต่พยศยาไป่วาย 
ชาติเสือห่อนหายลาย 
กล้วยก็กล้วยคงกล้วย
  ยาหาย 
ตราบม้วย 
ลบผ่อง 
กลับกล้ายฤๅมี
 
ขุนเขาสูงร้อยโยชน์
ขุนปราบด้วยโยธา 
จักล้างพยศสา 
ยศศักดิ์ให้เท่าให้
  คณนา 
ราบได้ 
หัสยาก 
พยศนั้นฤาหาย
 
คบคนผู้โฉดเคลิ้ม
หญิงเคียดอย่าระคน 
อย่าคบหมู่ทรชน 
บัณทิตแม้ตกต้อง
  อับผล 
ร่วมห้อง 
สอนยาก 
โทษสู้สมาคม
 
ภูเขาอเนกล้ำ
บมิหนักแผ่นธรณี 
หนักนักแต่กระลี 
อันจักทรงทานได้
  หากมี 
หน่อยไซร้ 
ลวงโลก 
แด่พื้นนรกานต์
 
ภูเขาทั้งแท่งล้วน
ลมพยุพัดพา 
สรรเสริญแลนินทา 
ใจปราชญ์ฤาเฟื่องพื้น
  ศิลา 
บ่ขึ้น 
คนกล่าว 
ห่อนได้จินต์จล
 
ห้ามเพลิงไว้อย่าให้
ห้ามสุริยแสงจันทร์ 
ห้ามอายุให้หัน 
ห้ามดังนี้ไว้ได้
  มีควัน 
ส่องไซร้ 
คืนเล่า 
จึ่งห้ามนินทา
 
ภูเขาเหลือแหล่ล้วน
หามณีจินดา 
ฝูงชนเกิดนานา 
หานักปราชญ์นั้นไซร้
  ศิลา 
ยากได้ 
ในโลก 
เลือกแล้วฤามี
 
ป่าหลวงหลายโยชน์พร้อม
หาแก่นจันทน์กฤษณา 
ฝูงคนเกิดมีมา 
หาปราชญ์ฤาจักได้
  พฤกษา 
ยากไซร้ 
เหลือแหล่ 
ยากแท้ควรสงวน
 
มัจฉามีทั่วท้อง
หาเงือกงูมังกร 
ทั่วด้าวพระนคร 
จักเสาะสัปปุรุษไซร้
  ชโลธร 
ยากได้ 
คนมาก มีนา 
ยากแท้จักมี
 
ดารามีมากร้อย
บ่เปรียบกับดวงจันทร์ 
คนพาลมากอนันต์ 
จะเทียบเท่าปราชญ์ไซร้
  ถึงพัน 
หนึ่งได้ 
ในโลก 
ยากแท้ฤาถึง
 
เหมหงส์เลี้ยงชีพด้วย
ช้างพึ่งพนาดร 
ภุมราบุษบากร 
นักปราชญ์เลี้ยงตัวได้
  สาคร 
ป่าไหม้ (ไม้) 
ครองร่าง ตนนา 
เพื่อด้วยปัญญา
 
นกแร้งบินได้เพื่อ
หมู่จระเข้เต่าปลา 
เข็ญใจพึ่งราชา 
ลูกอ่อนอ้อนกลืนกล้ำ
  เวหา 
พึ่งน้ำ 
จอมราช 
เพื่อน้ำนมแรง
 
ป่าพึ่งพาลพยัคฆ์ร้าย
เสือพึ่งไพรพงพี 
ความชั่วพึ่งความดี 
เรือพึ่งแรงน้ำน้ำ
  ราวี 
เถื่อนถ้ำ 
เท็จพึ่ง จริงนา 
หากรู้คุณเรือ
 
ตีนงูงูไซร้หาก
นมไก่ไก่สำคัญ 
หมู่โจรต่อโจรหัน 
เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้
  เห็นกัน 
ไก่รู้ 
เห็นเล่ห์ กันนา 
ปราชญ์รู้  เชิงกัน
 
มีอายุร้อยหนึ่ง
ศีลชื่อปัญจางค์จัก 
ขวบเดียวเด็กรู้รัก 
พระตรัสสรรเสริญผู้
  นานนัก 
ไป่รู้ 
ษานิจ  ศีลนา 
เด็กนั้นเกิดศรี
 
คนใดยืนอยู่ร้อย
ใจบ่มีปรีชา 
วันเดียวเด็กเกิดมา 
สรรเพชญ์บัณฑูรไว้
  พรรษา 
โหดไร้ 
ใจปราชญ์ 
เด็กนั้นควรยอ
 
คนใดยืนเหยียบร้อย
ความอุตส่าหฤามี 
เด็กเกิดขวบหนึ่งดี 
พระตรัสว่าเด็กน้อย
  ขวบปี 
เท่าก้อย 
เพียรพาก 
นี่เนื้อเวไนย
 
อายุถึงร้อยขวบ
ธัมโมชอันโอฬาร 
เด็กน้อยเกิดประมาณ 
เห็นถ่องธรรมยิ่งผู้
  เจียรกาล 
บ่รู้ 
วันหนึ่ง 
แก่ร้อยพรรษา
 
มีอายุอยู่ร้อย
ความเกิดแลความตาย 
วันเดียวเด็กหญิงชาย 
ลูกอ่อนนั้นยิ่งผู้
  ปีปลาย 
ไป่รู้ 
เห็นเกิด ตายนา 
แก่ร้อยปีปลาย
 
ธิรางค์รู้ธรรมแม้
บ่กล่าวให้หญิงชาย 
ดุจหญิงสกลกาย 
อยู่ร่วมเรือนผัวผู้
  มากหลาย 
ทั่วรู้ 
งามเลิศ 
โหดแท้ขันที
 
เว้นวิจารณ์ว่างเว้น
เว้นที่ถามอันยัง 
เว้นเล่าลิขิตสัง 
เว้นดั่งกล่าวว่าผู้
  สดับฟัง 
ไป่รู้ 
เกตว่าง เว้นนา 
ปราชญ์ได้ฤามี
 
รู้น้อยว่ามากรู้
กลกบเกิดอยู่ใน 
ไป่เห็นชเลไกล 
ชมว่าน้ำบ่อน้อย
  เริงใจ 
สระจ้อย 
กลางสมุทร 
มากล้ำลึกเหลือ
 
รูปชั่วมักแต่งแกล้ง
ใจขลาดมักอาจอง 
น้ำพร่องกละออมคง 
เฉาโฉดโอษฐ์อวดสู้
  เกลาทรง 
อวดสู้ 
กระฉอก ฉานนา 
ว่ารู้ใครเทียม
 
จระเข้คับน่านน้ำ
รถใหญ่กว่ารัถยา 
เสือใหญ่กว่าวนา 
เรือเขื่องคับชเลแล้
  ไฉนหา  ภักษ์เฮย 
ยากแท้ 
ไฉนอยู่ ได้แฮ 
แล่นโล้ไปไฉน
 
มณฑกทำเทียบท้าว
แมวว่ากูพยัคฆี 
นกจอกว่าฤทธี 
คนประดากขุกมีข้า
  ราชสีห์ 
แกว่นกล้า 
กูยิ่ง ครุฑนา 
ยิ่งนั้นแสนทวี
 
หิ่งห้อยส่องก้นสู้
ปัดเทียบเทียมรัตนอัน 
ทองเหลืองหลู่สุวรรณ 
พาลว่าตนเองอ้า
  พระจันทร์ 
เอี่ยมข้า 
ธรรมชาติ 
อาจล้ำเลยกวี
 
เสือผอมกวางวิ่งเข้า
ไป่ว่าเสือมีฤทธิ์ 
เล็บเสือดั่งคมกฤช 
ครั้นปะปามล้มคว่ำ
  โจมขวิด 
เลิศล้ำ 
เสือซ่อน  ไว้นา 
จึ่งรู้จักเสือ
 
ทองเหลืองเปลื้องร้ายห่อน
ขัดเท่าขัดราคี 
นพคุณหมดใสสี 
ถึงบ่แต่งตั้งไว้
  เห็นมี 
เล่าไซร้ 
เสร็จโทษ 
แจ่มแจ้งไพบูลย์
 
พระสมุทรไหวหวาดห้วย
เมรุพลวกปลวกสำรวล 
สีหราชร่ำคร่ำครวญ 
สุริยส่องยามเย็นเข้า
  คลองสรวล 
ร่าเร้า 
สุนัขเยาะ หยันนา 
หิ่งห้อยยินดี
 
แมวล่าหนูแซ่ซี้
หมาล่าวิฬาร์ผัน 
ครูล่าศิษย์และธรรม์ 
เสือล่าป่าแรมร้าง
  จรจรัล 
สู่หล้าง 
คบเพื่อน พาลนา 
หมดไม้ไพรสณฑ์
 
จามรีขนข้องอยู่
ชีพบ่รักรักยศ 
สัตว์โลกซึ่งสมมติ 
ดูเยี่ยงสัตว์นั้นได้
  หยุดปลด 
ยิ่งไซร้ 
มีชาติ 
ยศซ้องสรรเสริญ
 
นพคุณใส่เบ้าสูบ
ค้อนเหล็กรุมรันตี 
บ่เจ็บเท่าธุลี 
เจ็บแต่ท่านชั่งด้วย
  แสนที 
ห่อนม้วย 
สักหยาด 
กล่ำน้อยหัวดำ

ตัวหนังสือไทย

จากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พบว่า มีข้อความที่กล่าวถึงเรื่องของตัวหนังสือไทย เอาไว้ตอนหนึ่งว่า "เมื่อก่อนนี้ลายสือไทนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะเมีย พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจ ในใจและใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไทนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้"

ได้มีผู้สันนิษฐาน เรื่องตัวหนังสือไทยไว้หลายแง่มุม เช่น จารึกอักษรที่ภาพชาดกที่ผนังอุโมงวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย น่าจะเป็นตัวหนังสือที่มีมาก่อนตัวหนังสือจากศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปรับปรุงตัวหนังสือเก่าที่เคยมีมาแล้ว จัดวางสระเสียใหม่ คำว่าใส่อาจหมายถึง การกระทำเช่นนี้ แต่ก็สรุปได้ว่า แต่ก่อนไม่มีตัวหนังสือไทยแบบนี้ และเท่าที่ทราบยังไม่เคยมีผู้ทราบว่า มีตัวหนังสือไทยแบบอื่นใช้มาก่อนสมัยกรุงสุโขทัย

ไทยเราเป็นชาติที่เจริญเก่าแก่มาแต่โบราณกาล ได้มีการศึกษาค้นคว้ามาว่า ชาติไทยนั้น เคยมีภูมิลำเนาอยู่ในดินแดน ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนในปัจจุบัน และเมื่อกาลเวลาผ่านไป มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง ตามสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ภาษาพูด คนไทยเราเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่เรายังคงไว้ ไม่เปลี่ยนแปลงไปง่ายง่ายเหมือนเรื่องอื่น แม้ในปัจจุบัน คนที่พูดภาษา ซึ่งพอจะย้อนไปได้ว่า ต้นตอเป็นภาษาไทย มีอาศัยอยู่ทั่วไป ในดินแดนที่กว้างใหญ่ของจีน ในมณฑลอัสสัมของอินเดีย ในรัฐฉานตอนเหนือของพม่า ในลาวทั้งหมด ในเวียดนามตอนเหนือ เรายังพอพูดพอฟังเข้าใจกันได้ ในเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน คำหลัก ๆ การสร้างรูปประโยค และไวยากรณ์ ยังคงอยู่

ภาษาจีนและภาษาไทย จัดเป็นภาษาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เป็นภาษาที่กำหนดเอาเสียงหนึ่ง แทนความหมายหนึ่ง จึงมีคำที่มีเสียงโดดเสียงเดียวอยู่เป็นอันมาก ทำให้ต้องมีคำอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องอาศัยการทำเสียงสูง เสียงต่ำ ให้มีความหมายแตกต่างกัน เพื่อให้มีเสียงพอกับคำที่คิดขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอ จึงต้องมีคำผสมของเสียงหลายพยางค์ เพิ่มเติมขึ้นอีก ความแตกต่างจากภาษาอื่นประการหนึ่งคือ เรามีเสียงวรรณยุกต์ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์วรรณยุกต์ขึ้น ๒ เสียง คือ เสียงเอก และเสียงโท ซึ่งเมื่อใช้ควบกับอักษรเสียงสูงและเสียงต่ำ หรือใช้อักษร "ห" นำอักษรเสียงต่ำ ที่ไม่มีคู่อักษรเสียงสูงแล้ว ก็สามารถผันเสียงได้ถึง ๕ เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา

ภาษาจีนก็มีเสียงที่เป็นวรรณยุกต์เหมือนกัน แต่ไม่มีเครื่องหมายเขียนในตัวหนังสือ เสียงวรรณยุกต์ของจีนนี้ บ้างก็ว่ามี ๔ เสียง และสูงสุดถึง ๘ เสียง

ซึ่งเมื่อเทียบกับวรรณยุกต์ไทย ก็คงจะเป็นเสียง ที่เกิดจากวรรณยุกต์ ผสมกับสระเสียงสั้นเสียงยาว ซึ่งทางไทยเราแยกเสียงออกไปในรูปสระ ภาษาจีนและภาษาไทย มีรูปประโยคที่เกิดจากการเอาคำมาเรียงกันเป็นประโยค ข้อแตกต่างของไวยากรณ์ไทย ที่ไม่เหมือนของจีน ที่สำคัญคือ คำคุณศัพท์ขยายนาม ภาษาไทยเราเอาไว้หลังนาม แต่จีนเอาไว้หน้านาม เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ คำวิเศษณ์ที่ประกอบกริยา ภาษาไทยเอาไว้ตามหลังกริยา แต่ภาษาจีนมักไว้หน้ากริยา คำวิเศษณ์ที่ประกอบคุณศัพท์ ภาษาไทยเอาไว้หลังคุณศัพท์ แต่ภาษาจีนเอาไว้หน้าคุณศัพท์ และลักษณะนาม ภาษาไทยจะไว้หลังนาม แต่ภาษาจีนเอาไว้หน้านาม 

นกขมิ้นเหลืองอ่อน

นกขมิ้นเหลืองอ่อน
ค่ำแล้วจะนอนไหน
เชิญนอนเถิดเจ้านอน
กล่อมให้เจ้าหลับสบาย
แม่ซื้อทั้งหลาย
อย่าได้หยิกหยอก
ขึ้นน้ำลงท่า
ช่วยพิทักษ์รักษาทรามบังอร
อย่าหยอกหลอกหลอน
กล่อมให้เจ้านอนเปลเอย
นอกจากนี้ยังกำชับว่า ตัวลูกเองก็ต้องรักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี เช่น
เจ้าเนื้อเย็นเอย แม่มิให้ไปเล่นหาดทราย
ครั้นว่าน้ำขึ้นมา มันจะพาเจ้าลอยหาย
แสนเสียดายเจ้าคนเดียวเอย

ฝนเอย...ทำไมจึงตก

"ฝนเอย...ทำไมจึงตก"
"ฝนตกเพราะกบมันร้อง"

“กบเอย...ทำไมจึงร้อง”
“กบร้องเพราะท้องมันปวด”

“ท้องเอย...ทำไมจึงปวด”
“ท้องปวดเพราะข้าวมันดิบ”

“ไฟเอย...ทำไมจึงดับ”
“ไฟดับเพราะฟืนมันเปียก”

“ฟืนเอย...ทำไมจึงเปียก”
“ฟืนเปียกเพราะฝนมันตก”

แตงโม

แตงโมผลใหญ่ ๆ
เกิดขึ้นได้จากเม็ดแตงเล็ก ๆ
จำไว้นะพวกเด็ก ๆ
เม็ดแตงเล็ก ๆ กลายเป็นแตงผลใหญ่

ตะล็อกต๊อกแต๊ก

ตะล็อกต๊อกแต๊ก       มาทำไม 
มาซื้อดอกไม้           ดอกอะไร 
ดอกจำปี                  ไม่มี 
ดอกจำปา                ไม่มา 
ดอกยี่โถ                  ไม่โต  
ดอกแก้ว                  หมดแล้ว

เปาบุ้นจิ้น

เปาบุ้นจิ้น เป็นชาวเมืองหุ้นหนำกุ้ย ขึ้นกับเมืองกุยจิวเสีย อยู่ตำบลเปาเก แซ่เปา ชื่อบุ้นจิ้น เป็นบุตรชายของเปาเบ๊ะบ้วน และนางหลีสี อันหยิน มีพี่ชายสองคน คือเปาบุ้นกุ้ย และ เปาบุ้นลุ้ย
     เปาบุ้นกุ้ยเป็นพี่ชายคนโต มีภรรยาชื่อนางหลิวสี เปาบุ้นลุ้ยเป็นพี่ชายรอง มีภรรยาชื่อนางกังสี ส่วนเปาบุ้นจิ้น มีภรรยาชื่อ นางเตียวกุยกี
     ในช่วงที่เปาบุ้นจิ้นเกิดปรากฎว่า มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั้งบ้าน พอคลอดออกมาร้อง อุแว้ อุแว้ แสงสว่างได้ส่องกระจายไปทั่วบ้าน แสดงว่ามีคนดีมาเกิด และคนดีคนนี้จะสร้างความสงบสุขให้แก่บ้านเมือง เป็นที่พึ่งพิงของราษฎรได้ในภายหน้า
     เปาบุ้นจิ้นเกิดมามีหน้าดำมิดหมี บ้านใกล้เรือนเคียงพากันมาเยี่ยม เห็นทารกหน้าดำปี๋ ต่างทำหน้าเบ้ไปตามๆกัน นึกรังเกียจทารกว่าจะเป็นปีศาจมาเกิด หน้าตาจึงได้ผิดมนุษย์มนาไปเช่นนี้
     ชาวบ้านก็โจษขานกันว่า ปีศาจมาเกิด ทำให้เปาเบ๊ะบ้วน ใจคอไม่ดี พลอยนึกไปในทางอกุศลแก่ลูกของตนว่า
     “อ้ายเด็กคนนี้คงเป็นปีศาจมาเกิด ขืนเลี้ยงไว้จะเป็นเสนียดจัญไรแก่บ้าน
     ได้ปรึกษากับหลีสีอันหยิน เห็นพ้องกันว่า จะต้องเอาไปทิ้งไว้ในป่า หากเอาไว้ในบ้านจะนำความพินาศมสู่ตระกูลเปา
     เปาเบ๊ะบ้วน เป็นชาวบ้านธรรมดา มีอาชีพทางเกษตร ทำไร่ทำนา คบหาสมาคมเฉพาะคนพวกเดียวกัน แม้จะมั่งมีเงินทอง ก็หาได้เรียนหนังสือหนังหาไม่ ไม่ได้ศึกษาทางธรรม จึงไม่อาจเข้าใจเหตุผล ไม่อาจแยกแยะชั่วดีได้อย่างถูกต้อง แม้นางหลีสีอันหยินก็ไม่รู้ทั้งทางโลกและทางธรรม รู้แต่เรื่องทำมาหากินเท่านั้น หนำซ้ำยังเป็นคนเชื่อถือโชคลางอีกด้วย จึงตัดสินใจไปด้วยโหจริต คิดจะเอาลูกไปทิ้ง
     ในขณะที่บิดา มารดา กำลังปรึกษากันอย่างโง่ๆอยู่นั้น นางหลิวสี บุตรสะใภ้คนโตผู้มีสติปัญญา ซึ่งนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลได้ยินเข้าจึงขอร้องบิดามารดาจะรับเลี้ยงไว้ ถ้ามีภัยอันตรายเกิดขื้น ก็จะขอรับผิดชอบเอง ไม่ให้เสียแก่บิดามารดา
     แม้บิดามารดาจะไม่เห็นด้วย และถึงกับโกรธขึ้ง แต่นางหลิวสีสะใภ้ใจบุญผู้ฉลาดก็ดื้อดึงเอาไว้ เพราะนางเห็นนิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะเปาบุ้นจิ้นคลอดออกมานั้น นางเชื่อว่า โตขึ้นเด็กคนนี้จะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามาก นางหลิวสีรับทารกนั้นไปเลี้ยงไว้ แล้วใหตั้งชื่อว่า เปาบุ้นจิ้น
     บิดามารดาจะรังเกียจเดียดฉันอย่างไร แต่เปาบุ้นกุ้ย และเปาบุ้นลุ้ย พร้อมพี่สะใภ้ทั้งสองไม่เคยรังเกียจ กลับจะให้ความเมตตามากยิ่งขึ้น
     เปาบุ้นจิ้น เป็นเด็กมีสติปัญญาดี ไม่มีความประพฤติเสียหายเมื่อโตขึ้นได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สูง ครั้นสมัครไปสอบไล่ ก็สามารถสอบไล่ได้เป็นจอหงวน ได้รับพระราชทานช่อดอกไม้ทองเสียบหมวกจากฮ่องเต้
     ต่อมา ได้รับตำแหน่งเป็นนายอำถอเมืองเตี้ยตักกุ้ย แทนนายอำเภอคนเก่าที่ถึงแก่กรรม ตอนนั้นอายเพียง ๑๙ ปีนับว่าหนุ่มที่สุด
     บิดา มารดา พี่ซาย และพี่สะใภ้ ดีใจกันใหญ่หน้าดำของเปาบุ้นจิ้น ที่บิดามารดาเคยตั้งข้อรังเกียจ ก็ไม่รู้สึกกันอีกต่อไปนี่แหละหนาคนเรา !
     เปาบุ้นจิ้นได้เป็นนายอำเภอมาไม่นานนัก ก็ได้สละโสดแต่งงานกับนางเตียวกุยกี
     แม้ใบหน้าของเปาบุ้นจิ้นจะดำคล้ำไปหน่อย ผิดกับเจ้าสาวซึ่งสวยงามยิ่งนัก แต่เปาบุ้นจิ้นก็เป็นคนดี มีวาสนาได้เป็นขุนนางตั้งแต่ยังหนุ่ม นางเตียวกุยจึงมีความพอใจ
     ไม่ถึงกับต้องหล่อเหลา ขอเพียงเป็นคนเอาการเอางานขยันอดทน มีความคิดสร้างสรรค์ ฝันใฝ่ในทางดีงาม ไม่มีผู้หญิงที่ฉลาดคนไหนหรอกจะไม่เหลียวแล
     นายอำเภอเปาบุ้นจิ้น ได้ทำหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตยสุจริต อุทิศชีวิตเพื่อบ้านเมือง บำบัดทุกข์บำรุงสุข ราษฎรจนเป็นทียินดีกันทั่วหน้า จึงได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการเป็นเจ้าเมือง ได้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ เป็นที่เกรงขามของบรรดาข้าราชการทั้งน้อยใหญ่ แม้องค์ฮ่องเต้ก็ยังทรงเกรงพระทัย
     ขุนนางกังฉินทั้งเกลียดและกลัวท่าน แต่ขุนนางตงฉิน และราษฎรทั้วไปรักท่าน เพราะเปาบุ้นจิ้นท่านเป็นขุนนางที่ติดดิน ไม่ใช่ขุนนางที่คอยฟังแต่รายงาน ท่านคอยตรวจตราสุขทุกข์ของราษฎรด้วยตัวของท่านเอง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นไม่ว่าที่ไหน ท่านจึงแก้ไขได้หมด ท่านเป็นข้าราชการประเภทที่เรียกว่า “รองเท้าสึกก่อนกางเกงขาด”
     ถ้าพูดถึงการตัดสินคดีความของท่านแล้ว นับว่าไร้เทียมทานท่านเป็นตุลาการที่เที่ยงธรรมที่สุด เพราะท่านไม่ได้อ่านเฉพาะคำฟ้องเท่านั้น แต่ท่านพยายามไขว่คว้าพยานหลักฐานมาด้วยตนเองท่านออกพบปะประชาชน ค้นหาความจริงนอกบัลลังก์ศาล คำพิพากษาของท่านจึงบริสุทธิ์ ไม่มีใครสงสัยท่านจึงได้ชื่อว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งความยุติธรรม”
     ในฐานะเป็นขุนนางผู้ใหญให้คำ ปรึกษาแก่จักพรรดิ์องค์ฮ่องเต้เปาบุ้นจิ้นกระทำหน้าที่นี้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างแท้จริง อันไหนควรก็บอกว่าควร อันไหนไม่ควรก็บอกว่าไม่ควร
     เปาบุ้นจิ้นกล้าขัดพระทัยองค์ฮ่องเต้ ถ้าพระองค์จะทรงกระทำในสิ่งที่ผิด กล้าแนะนำองค์ฮ่องเต้ในสิ่งที่ถูก ทำให้องค์ฮ่องเต้ไม่กล้ากระทำผิด ทรงมีหริโอตตัปปะมากขึ้น ดำรงพระองค์อยู์ในทศพิธราชธรรม และรักรราษฎรมากขึ้น เห็นราษฎรเป็นเหมือนลูกหลาน ที่จะต้องทรงรักษาดูแลให้อยู่เย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า
     เมื่อองค์ฮ่องเต้ดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม คือ
     ๑. บำรุงเลี้ยงช่วยเหลือราษฎรให้อยู่ดีมีสุข ทรงสละพระราชทรัพย์ เพื่อราษฎรได้อยู่สำราญใจ (ทาน)
     ๒. มีความประพฤติดีงาม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ทรงเป็นตัวอย่างที่ดีของประชาชน (ศีล)
     ๓. สละความสุขส่วนพระองคได้ เพื่อประโยชน์ และความสุขของประชาชนและสันติความสงบของบ้านเมือง ตลอดจนพระชนม์ชีพก็สามารถสละได้ หากว่าจะสามารถยังความสุข ความเจริญให้เกิดแก่ราษฎรได้ (ปริจจาคะ)
     ๔. ทรงปฏิบัติภารกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความจริงใจต่อประชาชน (อาชชวะ)
     ๕. มีอัธยาศัยอ่อนโยน กิริยาสุภาพ นุ่มนวล ไม่เย่อหยิ่งหยาบกระด้าง เห็นแล้วงามสง่า น่าภักดี (มัททวะ)
     ๖. สามารถระงับดับกิเลสได้ ไม่ลุ่มหลงในความสุขสำราญ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย และมุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรปฎิบัติภารกิจให้สมบูรณ์ (ตปะ)
     ๗. ไม่โกรธเกรี้ยว ลุอำนาจแก่โทสะ จนเป็นเหตุให้เกิดความผิดพลาดในเรื่องที่ทรงกระทำ และเสียหายแก่ธรรม กับมีเมตตกรุณาประจำพระทัย (อักโกธะ)
     ๘. ไม่ทำอะไรที่เป็นการกดขี่บีบคั้นราษฎร เช่นไม่เก็บภาษีอย่างขูดรีด ปีไหนเศรษฐกิจไม่ดี ราษฎรยากจน ก็ควรงดเก็บภาษีหรือเก็บภาษีให้น้อยลง ทำให้ราษฎรมีทุนทำมาหากินต่อไปได้ ไม่ลุ่มหลงอำนาจ จนขาดเมตตากรุณา แล้วหาเหตุเบียดเบียนราษฎรให้เป็นทุกข์ (อริหิงสา)
     ๙. มีความอดทน อดทนต่อภารกิจ อดทนต่อความเจ็บไขได้ป่วย อดทนต่อความบีบคั้นทางใจ ทนต่อกิเลสที่มายั่วยวนกวนใจได้ ไม่ยอมละทิ้งสิ่งดีงาม (ขันติ)
     ๑๐. วางพระองค์หนักแน่นอยู่ในธรรมไม่หวั่นไหวในโลกธรรมยึดมั่นในหลักนิติธรรมอันถูกต้อง ไม่ประพฤติผิดขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม (อวิโรธนะ)
     ฮ่องเต้ที่ดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม จะไม่มีเวลาสำหรับกระทำผิดให้เสียหาย จะมีเวลาแต่ปกครองราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุข จะทรงรักษาราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุข พระองค์จะทรงรักราษฎรมากขึ้นห่วงใยราษฎรยิ่งกว่าพระองค์เอง
     เมื่อฮ่องเต้ทรงรักและห่วงใยราษฎร ราษฎรก็ย่อมจงรักภักดีต่อพระองค์ องค์ฮ่องเต้อยู่ได้ด้วยราษฎรภักดี หาใช่อยู่ที่ความประจบสอพลอของเหล่าขุนนางไม่
     ขุนนางอย่างเปาบุ้นจิ้น จะไม่แนะนำให้องค์ฮ่องเต้ออกไปจากหลักธรรมอันนี้ จะไม่ประจบสอพลอเพื่อเอาดีเฉพาะตัว นี่แหละขุนนางตงฉิน ผู้จงรักภักดีที่แท้จริง
     เปาบุ้นจิ้นเริ่มรับราชการมาตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี จนถึง ๑๐๕ ปีอันเป็นปีที่หมดอายุพอดี รวมเวลารับราชการนับได้ ๙๐ ปีเต็มๆ
     ตั้งแต่ทำราชการมา เปาบุ้นจิ้นมีแต่ความซื่อสัตย์ สุจริตไม่เคยฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่เคยกินตามน้ำหรือทวนน้ำ ไม่ใช่ว่าโง่เขลาคอร์รัปชั่นไม่เป็น หามิได้ เปาบุ้นจิ้นเป็นคนฉลาดมาก ทำการอันใดไม่เคยพลาด แม้มีอำนาจล้นมือแต่ไม่เคยใช้อานาจในทางมิชอบ
     คนเช่นนี้แหละจึงจะเรียกว่าเป็นผู้รับใช้แผ่นดิน และประชาชนผู้ยิ่งใหญ่