วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำบาลี สันสกฤต

สันสกฤต บาลี
  1.  สระสันสกฤต แปลกจากบาลี6 ตัว คำใดประสมด้วย
       สระ  ฤ  ฤา  ลึ  ลื  ไอ  เอา  เป็นคำในภาษาสันสกฤต   
2. คำใดประสมด้วย  ศ  ษ  มีในภาษาสันสกฤต  ไม่มีใน
      ภาษาบาลี  เช่น  อภิเษก  ศีรษะ  อวกาศ  ศัตรู  ศิลปะ
      ราษฎร  ศอก  ศึก  อังกฤษ  ศึกษาศาสตร์ 
 
3. คำสันสกฤต ใช้  ฑ  เช่น  กรีฑา 
      คำสันสกฤต  ไม่นิยมใช้  ฬ 

 4.  คำในภาษาสันสกฤตมีระบบเสียงควบกล้ำ หรือ
       พยัญชนะประสม  คำควบกล้ำจึงมักเป็นคำภาษา
       สันสกฤต  เช่น  สตรี  ปรารถนา  สวัสดี  สมัคร  มาตรา
       อินทรา

 5. ตัว ร ที่ควบกับคำอื่นและใช้เป็นตัวสะกด 
       เช่น  มรรคสรรพ มารค 
   6. คำที่ใช้  ห์  มักเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต 
       เช่น   สังเคราะห์   โล่ห์  อุตส่าห์ เท่ห์ เล่ห์  เสน่ห์
   7. ฤ  (ฤทธิ)  ในสันสกฤต จะเป็น อิทธิ  (อิ อุ)
  
สรุป :- ศึกษา รักนางมณโฑ ควบ หอการันต์โชว์ไอเอา ฤ ฤา
   1. คำในภาษาบาลีไม่มีสระเหล่านี้   สระบาลี 8 ตัว คือ
     อ  อา อิ  อี  อี  อุ  อู  เอ  โอ       

 2. คำที่มาจากภาษาบาลีควรใช้   ส  ทั้งหมด

3. คำสันสกฤต  ไม่นิยมใช้  ฬ  ดังนั้นคำที่มี  ฬ  จึงมักเป็นคำภาษาบาลี  เช่น  กีฬา  กาฬ  โกวิฬาร  กักขฬะ 
ประวาฬ
4. ภาษาบาลีไม่มีพยัญชนะประสมหรือควบกล้ำ
5.  คำที่ไทยใช้  รร   ไม่ใช่คำที่มีจากบาภาษาบาลี 
6.  บาลีใช้  ริ  เช่น  อริยะ -  จริยะ   
7. อิ อุ ในบาลี เช่น อิทธิ จะเป็น ฤ เช่น ฤทธิ์ ในบาลี
ตัวอย่างคำสันสกฤต ตัวอย่างคำบาลี
       อังกฤษ  ศึก  ศอก  พฤกษ์  ประพฤติ  ศาสนา  เกษม  ดรรชนี  วิทยุ  ประจิม  ธรรมศาสตร์  เกษตร  ศิลปากร  วัชระ  สัตย์  มฤตยู    อินทร์  อัคนี  ภัสดา  มัธยม  ศึกษาศาสตร์  ศากยะ  กษัตริย์  พิสดาร  พฤษภ  ปราณี  สวรรค์  กรรม  ฤทธิ์  ศรี  รัศมี  อภิเษก  เกษียณ  หฤทัย  คฤหาสน์  วิทยา  เสนา  เลขา  เสวก  พิษ  มนุษย์  กรีฑา  ครุฑ  อิศวร  วิเศษ  วิศาล  วิเศษ  สวามี  เนตร สตรี  อยุธยา อาศรม อาศัย  ราษฎร ฤษี สัตว์  กระดาษ  ดาษดา  พิศ  เลิศ  บำราศ  ปราศ พฤศจิกายน  อัศจรรย์  โอษฐ์  กฤษณา  พัสดุ  เกษียร    อาญา  สามัญ  วิชา  อิสิ  จริยา  ฐาปนา  สันติ  วัฒนา  บุญ  เวช  สิทธิ  จุฬา สิกขา  อัคคี  นิสิต  สงฆ์  ทุกข์  มัจฉา  รังสี  รัฐ  วิชา  โอฬาร  กิริยา  สมภาร    โมลี  วชิระ  ปฐม  เรขา  เสนา โอสถ  ปิตุ ปัจฉิม  วิชชา  ญาณ  ฐาน  วุฑฒิ  ถาวร วิตถาร  ตัณหา  ญาติ  สิกขา  มัชฌิมา  นิพพาน  กีฬา  จุฬา  สามี ปฏิเสธ  สาวก สามัญ  ขณะ อุตุ  นิจ สัจจ มัจฉาหลักการใช้  กับ  แก่  แด่   ต่อกับ ใช้เมื่อประธานและกรรมทำกริยาร่วมกัน  เช่น  แม่จะไปกับพ่อแก่ ใช้เมื่อประธานทำกริยาฝ่ายเดียว และ นามนามที่ตามมาเป็นผู้ปฏิบัติ เช่น เขาให้ของขวัญแก่พ่อใช้เกี่ยวกับการบอก  เช่น  เขาแจ้งแก่ที่ประชุมว่าเขาขอลาออกใช้เกี่ยวกับการให้  เช่น  สมศักดิ์ได้บริจาคเงินแก่โรงพยาบาลแด่ ใช้เกี่ยวกับการให้  เมื่อผู้น้อยให้ของผู้ใหญ่ เช่น  นักเรียนมอบของขวัญแด่ครูต่อ ใช้แสดงว่ามีฝ่ายรับหากสิ่งที่รับเป็นถ้อยคำ ผู้รับมักมีฐานะหรือตำแหน่งที่สูงกว่า เช่นเสนอต่อผู้บังคับบัญชา  ยื่นคำร้องขอต่อศาล สิ่งที่ได้รับอาจเป็นการกระหรือความรู้สึก เช่น
ปรารถนาดีต่อศิษย์ หรือเป็นความสัมพันธ์บางประการ เช่น มีประโยชน์ต่อร่างกายหลักการใช้  ที่  ซึ่ง  อัน  ว่าที่ ใช้จำกัดความหมายให้แคบเข้า หรือใช้บอกเหตุผล   เช่น  เด็กที่ยืนข้าง ๆเป็นลูกชาย  เสียใจที่สอบตกซึ่ง ใช้ขยายความหมาย  เช่น เหลียวหาลูกชายซึ่งยืนอยู่ข้างอัน มักใช้แก่นามธรรม เช่น  ศีลธรรมอันดี
ว่า ใช้บอกเนื้อความ   เช่น บอกว่าจะมา
   พยางค์   คือ   ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ 
        พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
        1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์   เช่น   ตา   ดี   ไป   นา
        2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด  เช่น   คน   กิน   ข้าว   หรือพยัญชนะ + สระ +วรรณยุกต์ + ตัวการันต์   เช่น    เล่ห์
       3.  พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์     เช่น   รักษ์   สิทธิ์   โรจน์
            พยางค์แบบนี้เรียกว่า   ประสม  5   ส่วน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น