วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๓   แห่ง
ราชวงศ์พระร่วงสมัยกรุงสุโขทัย  เป็นพระราชโอรสของ
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และนางเสือง  มีพระเชษฐา ๒ พระองค์   
องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์แต่ยังเยาว์    องค์กลางทรงพระนามว่า
" บานเมือง "   และมีพระขนิษฐาอีก ๒ พระองค์   


   เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมีพระชนม์ได้ ๑๙ พรรษา ได้เสด็จ
ไปในกองทัพกับพระะชนกและได้ทำยุทธหัตถีกับขุนสามชน
เจ้าเมืองฉอดได้ชัยชนะ  พระชนกจึงพระราชทานพระนามว่า
"พระรามคำแหง "  เมื่อพระชนกสวรรคต 


  พ่อขุนบานเมืองผู้เป็นพระเชษฐาได้ขึ้นครองราชย์และแต่งตั้ง
ให้พ่อขุนรามคำแหงไปครองเมืองเชลียง     และเมื่อพ่อขุนบาน
เมืองสวรรคต    พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ขึ้นครองกรุงสุโขทัย  
เป็นกษัตริย์ลำดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วง


  พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์  ทรงเป็นนักรบ 
นักปกครอง  และนักอักษรศาสตร์   พระองค์ทรงทำนุบำรุง
บ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง
ทรงแต่งตั้งราชทูตไปสานสัมพันธไมตรีกับจีน และได้นำ
ช่างปั้นจากจีนมาปั้นเครื่องชามสังคโลกในกรุงสุโขทัย
ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้เป็นไมตรีกับเมืองลังกาและ
ได้พระพุทธสิหิงค์จากเมืองลังกาโดยรับมาจากนครศรีธรรมราช
อีกทอดหนึ่งในรัชสมัยนี้


  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ
พ.ศ. ๑๘๒๖ โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม
ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ
และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว
ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า


        "เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะแม
พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทย
นี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้…" (ปี ๑๒๕๐ เป็น
มหาศักราชตรงกับพุทธศักราช ๑๘๒๖)


ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง

        ๑.      อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด มีดังนี้คือ
ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่ม
พยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ
และวรรณยุกต์เอก และโท

        ๒.      สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน
เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ   สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์
เขียนไว้ข้างบน

        ๓.      สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)

        ๔.      สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี   โดยไม่มีไม้หน้า

        ๕.      สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)

        ๖.      สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)

        ๗.      สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)

        ๙.      ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
                 ฯลฯ


        อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง  ใช้แพร่หลายในเขตล้านนา
ล้านช้าง และกรุงศรีอยุธยา   ต่อมาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลิก
ใช้อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยและใช้อักษรของพวกลื้อ ซึ่งเป็นอักษรไทย
พวกหนึ่งแทน     ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัดแปลงแก้ไข
มาเป็นระยะ ๆ จนเป็นเช่นอักษรไทยปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น