วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำมูล

คำมูล  คือ   คำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง กล่าวคือ เป็นคำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะอาจเป็นคำไทยดั้งเดิม
หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ และจะเป็คำ " พยางค์ " เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
    
"พยางค์" คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ ซึ่งจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ วิธีนับว่ามีกี่พยางค์นั้น โดยเมื่อเราอ่านออกเสียง 1 ครั้ง ถือว่าเป็น 1 พยางค์ ถ้าออกเสียง 2 ครั้งถือว่าเป็น 2 พยางค์ เช่น สิงโต มี 2 พยางค์,จักรวาล มี 3 พยางค์,มหาวิทยาลัย มี 6 พยางค์ เป็นต้น
       ดังนั้น คำมูลจึงแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
      1.คำมูลพยางค์เดียว เช่น เพลง,ชาม,พ่อ,ยืน,หิว,ยิ้ม,สุข,ใน ( คำไทยแท้ )ฟรี,ไมถ์,ธรรม ( คำที่มาจากภาษาอื่น )
     2.คำมูลหลายพยางค์ คือ คำมูลที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
          2.1 ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น จิ้งหรีด จะเห็นว่าพยางค์ " จิ้ง "
และ "  หรีด " ต่างก็ไม่มีความหมาย
          2.2 ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์ เช่น กิริยา จะเห็นว่าพยางค์    " ยา "       มีความหมายเพียงพยางค์เดียว
          2.3 ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย แต่ความหมายของคำนั้นไม่มีเค้าความหมายของแต่ละพยางค์เหลืออยู่เลย เช่นนารี จะเห็นว่าพยางค์ " นา " มีความหมายเกี่ยวกับที่นา ที่ชาวนาทำนากัน แต่สำหรับ " รี " ก็มีความหมายไปในทางที่มีรูปร่างไม่กลม ไม่ยาว เรียกว่า รูปวงรี แต่เมื่อรวม " นา " กับ " รี " เข้าด้วยกัน คือ นารี แล้วจะแปลว่า ผู้หญิง ซึ่งความหมายของ นารี ไม่เกี่ยวเนื่องกับความหมายของพยางค์ " นา "และ " รี " เล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น