วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำสนธิ

คำสนธิ
          คำสนธิในภาษาไทยหมายถึงคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง
 
สนธิมี 3 ลักษณะ คือ
          1. สระสนธิ
          2. พยัญชนะสนธิ
          3. นิคหิตสนธิ

๑. สระสนธิ คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น
วิทย+อาลัย = วิทยาลัย
พุทธ+อานุภาพ = พุทธานุภาพ
มหา+อรรณพ = มหรรณพ
นาค+อินทร์ = นาคินทร์
มัคค+อุเทศก์ = มัคคุเทศก์
พุทธ+โอวาท = พุทโธวาท
รังสี+โอภาส = รังสิโยภาส
ธนู+อาคม = ธันวาคม

๒. พยัญชนะสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย เช่น
รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน
มนสฺ + ภาว = มโนภาว (มโนภาพ)
ทุสฺ + ชน = ทุรชน
นิสฺ + ภย = นิรภัย

๓. นฤคหิตสนธิ ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็น นฤคหิต กับคำอื่นๆ เช่น
สํ + อุทัย = สมุทัย
สํ + อาคม = สมาคม
สํ + ขาร = สังขาร
สํ + คม = สังคม
สํ + หาร = สังหาร
สํ + วร = สังวร

หลักการสังเกต
          ๑. คำสนธิต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
          ๒. เมื่อนำคำมาสนธิกันแล้ว จะกลายเป็นคำเดียว และจะต้องแปลจากคำหลังมาคำหน้า
          ๓. คำที่จะนำมาสนธิกัน จะต้องมีทั้งสระหน้าและสระหลัง
          ๔. เมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ หรือนิคหิตที่เชื่อมเสมอ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น