วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การอ่านอย่างมีวิจารณณาณ

การอ่านอย่างมีวิจารณณาณ หมายถึง การอ่านที่สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องได้และสามารถนำเรื่องที่ได้อ่านมาวิเคราะห์ ตีความ วิจารณ์ ตลอดจนประเมินค่าได้อย่างสมเหตุสมผล 
            โดยทั่วไปการอ่านแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ อ่านได้ และอ่านเป็น ซึ่งอ่านเป็นกระบวนการอ่านที่รู้สารในระดับพื้นฐาน ส่วนการอ่านเป็นกระบวนการอ่านขั้นตอนจากากรอ่านได้ โดยผู้อ่านจะต้องจับใจความสำคัญและเข้าใจเรื่องราว แสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ ตีความและประเมินเรื่องราวได้

การอ่านจับใจคววาม
             
การอ่านจับใจความ หมายถึง การอ่านที่มุ่งประเด็นสำคัญของเรื่องหรือสาระของเรื่องซึ่งมี ๒ ส่วน ดังนี้
             ๑. ส่วนที่เป็นใจความสำคัญ การอ่านเพื่อสืบค้ันใจความสำคัญของเรื่องนั้น ผู้อ่านจะต้องพอิจารณา
สาระสำคัญไปทีละย่อหน้า จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจในสาระสำคัญของเรื่องได้เร็วขึ้น
             ๒. ส่วนขยายหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ที่มิใช่ใจความสำคัญ ซึ่งส่วนขยายจะเป็นรายละเอียดของเรื่องราวอันจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระสำคัญยิ่งขึ้น

             กลวิธีการอ่านจับใจความ
             การอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งบทความ สารคดี เอกสารตำรา หรืองานเขียนอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพและสามารถจับใจความสำคัญได้ มีหลักปฎิบัติดังนี้
             ๑. ผู้อ่านจะต้องสำรวจเอกสารที่จะอ่านให้เข้าใจอย่างคร่าว ๆ โดยผู้อ่านจะต้องอ่านส่วนประกอบของหนังสืออย่างคราว ๆ ได้แก่ คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหนังสืออย่างกว้าง ๆ จะทำให้เข้าใจเรื่องที่อ่านได้เร็วยิ่งขึ้น
             ๒. กำหนดจุดมุ่งหมายได้ชัดเจนว่าคนอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ เพื่อความบันเทิง หรือจุดมุ่งหมายอื่น ๆ การกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ก่อนอ่านจะทำให้ผู้อ่านจับใจคความได้เร็วยิ่งขึ้น
             ๓.ผู้อ่านจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ภาษา คำ ประโยค และความหมายของข้อความต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะลักษณะดังกล่าวจะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้อ่านจับใจความของเรื่องราว และเข้าใจความหมายได้อย่างถูกต้อง
            ๔. เข้าใจลักษณะของงานเขียนแต่ละประเภท และเลือกกลวิธีการอ่านจับใจความได้อย่างถูกวิธี
การอ่านจับใจความได้อย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับประเภทของงาน กล่าวคือ งานเขียนแต่ละประเภทจะต้องมีโครงสร้าง หรือองคืประกอบที่เหมือนกันและแตกต่างกัน เช่น มีส่วนนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป เป็นต้น และในแต่ละส่วนประกอบของงานเขียนยังประกอบด้วยย่อหน้าต่าง ๆ เช่น ย่อหน้านำความคิด หรือย่อหน้าส่วนนำ ย่อหน้าสรุปความคิด หรือบทสรุปตอนท้านเรื่อง ย่อหน้าเชื่อมโยงความคิดที่มีหน้าที่เชื่อมความระหว่างย่อหน้าและในแต่ย่อหน้าจะประกอบด้วยประโยคต่าง ๆ มากกว่า ๒ ประโยค ดังนั้น การอ่านเพื่อจับใจความควรพิจารณาในแต่ละย่อหน้าดังต่อไปนี้
            ๔.๑ พิจารณาประโยคแรกของย่อหน้าว่าใช่ข้อความสำคัญหรือไม่ ผู้อ่านจะต้องอ่านให้จบย่อหน้าและพิจารณาดูว่ามีกี่ประโยค ประโยคใดคือประโยคใจความสำคัญ และประโยคใดเป็นประโยคขยายความ ซึ่งในกรณีนี้ ผู้เขียนอาจจะวางประโยคใจความสำคัญไว้ที่ประโยคแรกดัวต่อไปนี้

                              ข้อความ ๑ ย่อหน้า
     ประโยคใจความสำคัญ...................................................
......................................................................................
     ประโยคขยายความ........................................................
........................................................................................
     ประโยคขยายความ...........................................................................................................
                        เช่น
                        ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญประเทศหนึ่งของโลก อันเนื่องมาจากความมีฝีมือในการเจียระไนได้วิจิตงดงามเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศนอกจากนี้ไทยยังมีฝีมือในการประดิษฐ์เครื่องประดับได้ทัดเทียมกับผู้ผลิตชั้นนำของโลก จึงเป็นผลให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับนานาชาติส่งอัญมณีเข้ามาเจียในที่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก(ขวัญเรือน ฉบับที่ ๖๕๕ ปักษ์แรกเดือนมีนาคม ๒๕๔๒ : ๑๔๒ )
                      ๔.๒ พิจารณาประโยคใจความสำคัญในประโยคสุดท้ายของย่อหน้า เมื่อพิจารณาว่าประโยคแรกไม่ใช่ประโยคใจความสำคัญ ผู้เขียนอาจวางประโยคใจความสำคัญไว้ที่ประโยคสุดท้ายดังต่อไปนี้

                      ข้อความ ๑ ย่อหน้า
     ประโยคขยายความ........................................................
......................................................................................
     ประโยคขยายความ..........................................................
........................................................................................
     ประโยคใจความสำคัญ......................................................................................................


                     เช่น
                     
บางคนชอบปลูกต้นไม้ดอกไม้ผล เมื่อเกิดออกผลก้ชื่นใจ เกิดความคิดที่จะทำดอกผลนั้นให้งดงามน่าดูยิ่งขึ้น จึงมีผู้นำมาประดิษฐ์ลวดลาย แล้วจัดวางลงในภาชนะให้มองแปลกตาน่ารับประทาน ลวดลายนั้นเกิดจากการตัด ผ่า ปอก คว้าน และแกะสลัก ส่วนไม้ดอกก็นำมาผูกมัดเป็นช่อบ้าง เป็นพวงพู่บ้าง เสียบเป็นพุ่มหรือปักลงในแจกันก็ได้ แสดงว่า ศิลปะกับชีวิตเป็นส่วนที่แยกกันไม่ออก ( ฉัตรวรุณ ตันนัรัตน์และคณะ,๒๕๒๖ : ๙๔ )
                     ๔.๓ พิจารณาประโยคใจความสำคัญในประดยคแรกและประโยคสุดท้าย ในกรณีนี้ผู้เขียน
อาจวางประโยคใจความสำคัญไว้ในประโยคสุดท้ายของย่อหน้าดังต่อไปนี้

                     ข้อความ ๑ ย่อหน้า
     ประโยคความสำคัญ........................................................
..........................................................................................
     ประโยคขยายความ............................................................
............................................................................................
     ประโยคใจความสำคัญ.............................................................................................

                    เช่น
                    ศิลปวัฒนธรรมในบ้านเมืองเรามักจะสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ตัวอย่าง
บางคนชอบปลูกต้นไม้ดอกไม้ผล เมื่อเกิดดอกผลก็ชื่นใจ เกิดความคิดที่จะทำดอกผลนั้นให้งดงามน่าดูยิ่งขึ้น จึงมีผู้นำผลไม้มาประดิษฐ์ลวดลายแล้วจัดวางลงในภาชนะให้มองดูแปลกตาน่ารับประทาน ลวดลายนั้นเกิดจากการตัด ผ่า ปอก คว้าน และแกะสลัก ส่วนไม้ดอกก็นำมาผูกมัดเป็นช่อบ้าง เป็นพวงเป็นพุ่มหรือปักลงในแจกันก็ได้ ตามแต่จะเห็นว่างาม ชีวิตชาวไทบกับศิลปะความงามเป็นส่วนที่แยกกันไม่ออก( ฉัตรวรุณ ตันนัรัตน์ และคณะ,๒๕๒๖ : ๙๔ )
                    ๔.๔ พิจารณาประโยคใจความสำคัญในประโยคที่อยู่กลางย่อหน้า ในกรณีนี้ผู้เขียนอาจจะวางประโยคใจความสำคัญไว้ในประโยคใดประโยคหนึ่งตรงกลางย่อหน้าดังต่อไปนี้                   

                         ข้อความ ๑ ย่อหน้า
     ประโยคความสำคัญ........................................................
..........................................................................................
     ประโยคใจความสำคัญ............................................................
............................................................................................
    .............................................................ประโยคขยายความ...........................................................................................

                        เช่น
                      
  ศิลปะแห่งการฟังนั้นไม่ได้หมายถึงการนั่งนิ่ง ปล่อยคนอื่นพูดฝ่ายเดียวแล้วก็ฟังเหมือนเทศน์การทำเช่นนั้นง่ายเกนกว่าที่จะนับว่าเป็นศิลปะ ศิลปะการฟังจึงหมายถึงความสามารถที่จะชักจูงผู้พูดให้หันเหเข้าหาเรื่องที่เขาถนัดสุด คือแสดงให้เห็นว่าตนกำลังฟังคำพูดของเขาด้วยความตั้งใจ อยากรู้อยกฟังจริง ๆ รู้จักสอกคำถามในโอกาสที่เหมาะ รู้จักปล่อยให้ผู้พูดพูดจนสิ้นกระแสความ และรู้จักช่วยผู้พูดที่ีกำลังจะหมดเรื่องพูดให้กลับมีเรื่องขึ้นมาใหม่เพื่อให้เขาพูดได้ต่อไป (ฉัตรวรรุณ ตันนะรัตน์ และคณะ , ๒๕๒๖ : ๙๔)
                      ๕. การจับใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้า ในบางกรณีผู้อ่านค้นหาประโยคใจความจากส่วนต่าง ๆ ของย่อหน้าไม่ได้ เนื่องจากการวางประโยคใจความไม่เด่นชัด ผู้อ่านจะต้องสรุปความและเขียนใจความสำคัญด้วยสำนวนของตนเอง
                     เช่น

                     หลังจากมีข่าวขึ้นหน้าหนึ่งจนดังไปทั่วประเทศ เรื่องที่อดีตสามมีทำร้ายร่างกายคนดูแลลูก
และมาช่าออกมาแฉเรื่องที่ถูกทำร้ายร่างกายตลอดระยะเวลาที่ใช้ชีวิตคู่ เธอก็หายหน้าไปพักใหญ่ แต่ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวแว่วมาจากออสเตรเลียแล้วว่า มีผู้พบเห็นมาช่าควงหนุ่มคนหนึ่ง ท่าทางสนิทสนมกลมเกลียวฉันคนรักอยู่ที่เมลเบิร์นซึ่งเป็นเมืองที่ "น้องกาย" ไปเรียนต่อที่นั้นเอง (บอลลูน,๒๕๔๖ : ๑๐๐) สรุปความว่า มาช่าไปอยู่กับลูกที้่เมลเบิร์นและอาจพบรักใหม่
                   ๖. เมื่ออ่านจับใจความสำคัญจากย่อหน้าต่าง ๆ ครบหมดทุกย่อหน้าแล้ว นำประโยคใจความสำคัญทั้งหมดมาเรียบเรียงใหม่ให้ได้ใจความเป็นเอกภาพ ซึ่งเป็นส่วนของสาระสำคัญทั้งหมดของเรื่อง
 การอ่านจับใจความนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องราวได้รวดเร็วขึ้น
และกลวิธีการอ่านจับใจความข้างต้น ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ได้กับงานเขียนทุก ๆ ประเภทเช่น ข่าว บทความสารคดี ตำรา เป็นต้น

การอ่านตีความ

                   หม่อมหลวงบุยเหลือ เทพสุบรรณ (๒๕๒๒ : ๘) กล่าวว่า การวินิจสาร คือ การตีความซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่าInterpertation และได้กล่าวถึงความสำคัญของการตีความว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการอ่านหนังสือผู้อ่านจะต้องเข้าใจว่าสารที่ผู้เขียนส่งมานั้นคืออะไร
                  อาจสรุปได้ว่า การตีความเป็นการอ่านในระดับที่สูงกว่าการอ่านเพื่อความเข้าใจ การอ่านตีความเป็นศิลปะการที่ผู้อ่านจะต้องเข้าใจกลวิธีในการเขียน การใช้คำและภาษา ซึ่งในบางกรณีคำและภาษาดังกล่าวมิได้สื่อความหมายออกมาโดยตรงตามรูปคำ แต่อาจจะมีความหมายแฝงที่ผู้อ่านจะต้องค้นหาสาระที่แท้จริงโดยอาศัยบริบทของเนื้อเรื่องเป็นองค์ประกอบ
                  ความสำคัญของการอ่านตีความ

                 ๑. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องได้ถูกต้องตรงกับจุดมุ่งหมายของผู้เขียนการเขียนแต่ละประเภทมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอสาระสำคัญแตกต่างกัน งานเขียนประเภทบทความ สารคดีและข่าว อาจจะอ่านและตีความหมายไปตามรูปของคำ แต่ในขณะเดียวกันถ้าอ่านเรื่องสั้น นวนิยาย หรือร้อยกรองผู้เขียนอาจจะใช้คำที่มีความหมายแฝงในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้น ผู้อ่านจะต้องพินิจและตีความอย่างระมัดระวังจึงจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายที่แท้จริงของเรื่อง
                 ๒. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสัจธรรมอันเกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น วรรณกรรม
มักเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษยเช่น ข่าว บทความ สารคี นวนิยาย เรื่องสั้น บทร้อยกรอง เป็นต้นดังนั้นการอ่านวรรณกรรมเหล่านี้ นอกจากจะได้รับความบันเทิงจากเรื่องราวที่อ่านแล้ว การตีความหมายที่ถูกต้องจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจสัจธรรมหรือเรื่องราวกับแง่มุมอันเกี่ยวกับมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและเป็นอุทาหรณ์แก่ผู้อ่านได้
                 ๓. การอ่านตีความหมายของงานเขียนต่าง ๆ เป็นการฝึกทักษะการคิดที่สมเหตุสมผลและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้อ่าน เพราะเมื่อคิดตามผู้อ่าน ตีความเรื่องราวได้อย่างมีเหตุมีผลมีหลักการและทฤษฎีที่สัมพันธ์กับงานเขียน ก็ยอมทำให้ผลของการตีความนั้นเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือมากกว่าการตีความแบบอัตวิสัย
                 ๔.
การอ่านตีความโดยมีหลักการและทฤษฎีที่เหมาะสม ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระสำคัญ
ของงานเขียนได้อย่างถูกค้อง
                 ๕.
การอ่านตีความช่วยให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล รู้เท่าทันวิววัฒนาการและทฤษฎีต่าง ๆ
ที่เป็นเครื่องสำคัญในการตีความงานเขียนประเภทต่าง ๆ จะทำให้ผู้อ่านเข้าถึงสาระสำคัญของเรื่องได้ ซึ่งลักษณะดังกล่าวผุ้อ่านนอกจากจะได้รับความรู้จากสาระของเรื่องและความบันเทิงแล้วยังมีความรู้เท่าทันวิทยาการที่พัฒนาไปตามยุคโลกาภิวัฒน์
               กลวิธีการอ่านตีความ
               การอ่านตีความเรื่องราวต่าง ๆ ผู้อ่านจะต้องเข้าใจองค์ประกอบของงานเขียนแต่ละประเภทและเลือกกลวิธีการอ่านและหลักการในการตีความให้เหมาะสมกับประเภทของงารนเขียน จะช่วยให้ผู้อ่านตีความสาระสำคัญได้อย่างถูกต้อง และการตีความให้ถูกต้องนั้นผู้อ่านควรมีหลักการอ่านดังนี้
              ๑. เลือกงานเขียนที่อ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของงานเขียนประเภทนั้นอย่างถูกต้อง เช่น บทความและสารคดี มีองค์ประกอบ ๓ ส่วน คือ ส่วนหน้า เนื้อเรื่อง และบทสรุป  เรื่องสั้น มีองค์ประกอบ คือ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ฉาก และบทสนทนา เป็นต้น ร้อยกรอง ควรพิจารณารูปแบบและแนวคิดเป็นสำคัญ
             ๒. อ่านเรื่องราวอย่างละเอียด โดยอ่านครั้งแรกเป็นการอ่านเพื่อสำรวจและทำความเข้าใจและ
จับใจความอย่างคราว ๆ และอ่านครั้งที่ ๒ เพื่อจับใจความสำคัญอย่างละเอียด พินิจพิจารณาการใช้ถ้อยภาษาเพื่อตีความ เพราะภาษาอาจจะสื่อความหมายตามรูปคำและสื่อความหมายโดยนัย
             ๓. การอ่านตีความคำหรือภาษาที่สื่อความโดยตรงตามรูปคำ งานเขียนบางประเภทผู้เขียนจะสื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีีความหมายแฝง ผู้อ่านอ่านแล้วจะต้องจับใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้าก่อนแล้วนำมาสรุปมาเป็นสาระสำคัญของเรื่องนั้น ๆ หรือในงานเขียนบางประเภทอาจแฝงความรู้สึก ความคิดเห็นในเชิงวิภากษืวิจารณ์ไว้ด้วย ดังเช่น บทความวิจารณ์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตามบทความดังกล่าวใช้ภาษาง่าย ๆ ผู้อ่านสามารถตีความไม่ยากเช่นกัน
             เห็นข่าวเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ไปนอนให้หมอคนหนึ่ง ซึ่งเปิดคลินิกเรื่องความงามเด็กหญิงคนดังกล่าวไปดูดไขมันต้นขา แต่เพราะอะไรก็ยังไม่ชัดเจน เธอได้เสียชีวิตไป
             ข่าวนี้ปรากฎในหน้าหนังสือพิมพ์ หมอคนดังกล่าวเสียชื่อเสียงไปแล้ว เด็กคนหนึ่ีงเสียชีวิตไปแล้ว
หนังสือพิมพ์และสื่อต่าง ๆ ก็ทำหน้าที่กันไปแล้วอย่างเคร่งครัด "จันทร์จรา" มองเรื่องนี้ว่าอิทธิพลของสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะในโทรทัศน์เองมีส่วนอย่างไรหรือ ก็มีส่วนปลูกฝังค่านิยมงมงายเรื่องความงามมากกว่าความเป็นคนดีนั่นยังไงเล่า เห็นได้จากโฆษณาต่าง ๆกระโจนเข้าจูงใจวัยรุ่นไม่หยุดหย่อน ทั้งเครื่องสำอางที่ทำให้หน้าขาว ทั้งที่ทำให้รักแร้ขาว ทั้งที่ทำให้อ้วน
             ก็ปลูกฝังกันทุก ๆ วันออกอย่างนี้มีหรือเด็กจะไม่คล้อยตาม ก็โทรศัพท์มือถือรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่ออกมาจูงใจเด็กให้หลงใหลใคร่ได้ไว้ใช้ขนเสมือนเป็นอวัยวะชิ้นหนึ่งของร่างกาย ก็มาจากโฆษณษนั้นเอง อิทธิพลของโฆษณาทำให้เด็กหญิงหลายคนขายตัวแลกเงินมาซื้อสมบัติร่วมสมัยเหล่านี้อย่างที่เห็น
             ดาราก็มีส่วน มองในโทรทัศน์เถิด มีกี่คนกันที่ผ่านการทำศัยกรรมตบแต่งใบหน้า ดวงตา จมูก คางบ้างก็ทำอก ดาราเป็นขัวญใจของเด็ก ๆ ที่เรารู้จักกันอยู่ ดังนั้นความนิยมของดารา ความเคลื่อนไหวของดาราไม่มีวันพ้นสายตาของเด็ก ๆ ไปได้ (จันทร์จิรา,๒๕๔๖: ๑๐๑)

             ข้อความข้างต้นผู้เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอธิพลของสื่อและการโฆษณาที่มีผลต่อพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นที่รักสวยรักงาม แต่ในขณะเดียวกันเจตนาของผู้เขียนอันเป็นความหมายแฝงคือ ไม่เห็นด้วยกับการโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ
             ๔ การอ่านตีความคำหรือภาษาที่มีความหมายโดยนัยหรือภาษาที่เป็นสัญญลักษณ์งานเขียนที่มักใช้ถ้อยคำแทนสัญญลักษณ์บางอย่างมักเป็นงานเขียนประเภทเรื่องสั้น นวนิยาย และร้อยกรองดังนั้น การอ่านข้อความหรือเรื่องราวเหล่านี้จะต้องอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ตลอดจนสังเกตการใช้คำและบริบทอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนในการตีความ ดังเช่น
            การใช้คำที่เป็นสัญลักษณ์ในเรื่อง ศึก ของนิคม รายยวา (๒๕๒๗ : ๔๓-๕๕)
            "ตะเข้ก็น่ากลัวนะ" สีเทิ้มพูด หลังจากนิ่งเงียบอยู่พักใหญ่
            "ผมไม่อยากเจอมันเลย"
             ความต้องการอันลึกลับผุดขึ้นมา เขาพยายามข่มมันไว้ แต่มันดิ้นรนออกมาจนได้เขาคิดไปถึงจระเข้ที่หน้ากลัว รู้สึกหวาดกลัว เหงื่อชุ่มใบหน้า หายใจฟิดฟาด ครางออกมาอย่างลืมตัว ภายในความเงียบสงัดจนผู้ร่วมเรืออีกสามคนตกใจตื่นลุกขึ้นนั่ง.....
            สีเทิ้มคิดไปถึงจระเข้ "ตะเข้" เขาพูก "ตะเข้ใหญ่"
            "อยู่ที่ไหน" ลุงบุญปลูกถาม" ไม่เห็นที่นี่ นํ้าเชี่ยวอย่างนี้จระเข้มันอยู่ไม่ได้หรอก"

            "มันฟาดหางใหญ่เลย" สีเทิ้มพูด
          
  "ปาน"ลุงบุญปลูกถาม " ได้ยินจระเข้ฟาดหางไหม".....
            สีเทิ้มลืมตาโพลงในความมืด พยายามคิดในทางที่ดี เขาอยากให้คนรักแต่มักจะทำตรงกันข้ามเสมอเขาเกลียดมัน แต่มันแพ้มัน เขาอ่อนแอเกินไป
            "คราวนี้เราต้องชนะ" สีเทิ้มบอกตัวเอง "เราจะไม่อ่อนแออีกต่อไป"
  
         ไมนานความรู้สึกอยากก็เกิดขึ้นมาอีก เขาสลัดหัว "ไอ้เข้" เขาพูดเบา ๆ ขนาดคิดถึงความโหลดร้ายของจระเข้ "ออกไปให้พ้น"
           เขาถูกรุกเร้าหนัก จนร้อเอะอะขึ้นมาในความมืดอีกครั้งหนึ่ง ตัวสั่นและเหงื่อซึม
           "อะไรอีกหรือ"
ลุงบุญปลูกถาม แต่สีเทิ้มนิ่งเงียบ "นอนเสียเถอะ" แกบอก "จระเข้ไม่มีหรอก" สีเทิ้ม
รู้สึกกลัวตลอดคืนเขานอนไม่หลับ เสียงจระเข้ฟาดหางดังสนั่นในความรู้สึกตลอกเวลา.....
           ด้วยใบหน้าที่มึงทึง สีเทิ้มเงื้อดาบ ฟันฉับลงบนข้อเท้าของตัวเองตรงส่วนที่ถูกหนีบปากก็พรํ่าพูดไม่เป็นจังหวะ "ไอ้เข้" เขาตะโกนลั่น "จะมาดึงข้าลงนํ้าอีกหรือ"......
         "ลุง" เทิ้มพยายามขยับลิ้มฝีปาก เกิดเสียงแผ่วเบา "ตะเข้ไม่มีแล้วลุงไม่ต้องกลัวมัน"........
          "นอนเสียเถอะสีเทิ้ม" ลุงบุญปลูกพูกพลางบีบแขนของเขาบา ๆ พยายามกลั้นนํ้าตา "มันตายแล้ว"
สีเทิ้มพูดเสียงแผ่ว "ผมฆ่ามันเอง".........

          จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่าผู้เขียนใช้คำว่า "จระเข้,ตะเข้   และไอ้เข้" บ่อยมากซึ่งผู้อ่านสังเกต
และนับจำนวนจำนวนคำในเชิงสถิติได้ แสดงว่าเป็นคำสำคัญที่ผู้เขียนต้องการเน้นยํ้าเป็นพิเศษและเมื่อพิจารณาจากบริบทของเรื่อง ผู้อ่านก้จะเข้าใจได้ในทันทีว่า "จระเข้" เป็๋นสัญลักษณ์ของจิตสำนึกฝ่ายชั่วหรือ Id  
ซึ่งผู้เขียนใช้บทสนทนาและกระแสสำนึกเกี่ยวกับจระเข้สลับกับพฤติกรรมและจิตสำนึกฝ่ายดเกิดภาวะขัดแย้งกันอย่างรุ่นแรงจนสุดท้ายตัวละครก็สามารถยับยั้งจิตฝ่ายชั่วได้สำเร็จด้วย Ego โดยใช้ดาบเป็นสัญลักษณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น