วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บทวิเคราะห์อิศรญาณภาษิต

บทวิเคราะห์อิศรญาณภาษิต
วรรณกรรมคำสอนเป็นวรรณกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อสั่งสอนอบรมผู้คนให้อยู่ในกรอบจารีตของสังคม  ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้าง
ค่านิยมให้เกิดขึ้นในความคิดของผู้คน  เพื่อให้ซึมซาบในจิตใจเป็นการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม  วรรณกรรมคำสอน
จึงเปรียบเสมือนกฎที่คอยควบคุมผู้คนให้อยู่ในระเบียบและเสนอแนะวิถีปฏิบัติของคนในสังคม       แต่อิศริญาณภาษิตนับเป็นวรรรกรรม
คำสอนที่มีลีลาแข็งกร้าว  น้ำเสียงประชดประชันเสียดสี  แปลกไปจากวรรณกรรมคำสอนเรื่องอื่น  ๆ  เป็นภาษิตที่มีเนื้อหาเน้นถึงความ
สัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม  สอนให้รู้จักวางตัวให้เหมาะสมและอยู่รอดในสังคมได้อย่างปลอดภัย


อิศรญาณภาษิตเริ่มเรื่องโดยชี้ให้เห็นว่า  มนุษย์เราไม่อาจอยู่คนเดียวตามลำพังได้  จำต้องพึ่งพาอาศัยกัน  ความเข้าใจและ
เห็นอกเห็นใจกันเป็นสิ่งดี  ควรมีให้แก่กัน  ดังนี้
ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า
                                                     น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย                       
                                                     เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ
                                                     รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น