วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเขียนเชิงสร้างสรรค์

การเขียนเชิงสร้างสรรค์

                ความสำคัญของเรื่องนี้เริ่มจากการมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าเพราะประชาชนมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าพูดกล้าทำ กล้ารับคำวิจารณ์ และพร้อมที่จะรับฟังคำวิจารณ์และพร้อมที่จะปรับปรุงด้านการส่วนตัวและ
ด้านหน้าที่การงาน
ลำดับการศึกษา
    -          ความคิดเชิงสร้างสรรค์
    -          การเขียนเชิงสร้างสรรค์
    -          ประเภทข้อเขียนเชิงสร้างสรรค์
    -          ตัวอย่างข้อเขียนเชิงสร้างสรรค์
ความคิดเชิงสร้างสรรค์
    -          ความหมาย
    -          ระดับความคิดเชิงสร้างสรรค์
    -          กระบวนความคิดเชิงสร้างสรรค์ลักษณะบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
    -          การส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ลักษณะบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ การส่งเสริมให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์อุปสรรคที่สกัดกั้นความคิดเชิงสร้างสรรค์
ความหมายของความคิดเชิงสร้างสรรค์
                คือความคิดจินตนาการประยุกต์ที่สามารถนำไปสู่สิ่งประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ทางเทคโนโลยีซึ่งเป็นความคิดในลักษณะ
ที่คนอื่นคาดไม่ถึงหรือมองข้ามเป็นความคาดคิดหลากหลายกว้างไกล เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพอาจเกิดความคิดผสมผสาน
เชื่อมโยงระหว่างความคิดเดิมกับความคิดใหม่ เพื่อแก้ปัญหา และเอื้ออำนวยต่อตนเองและสังคม (อารี  รังสีนันท์ ความคิด
สร้างสรรค์กรุ่งเทพฯ คณะศึกษาศาสตร์ มศว. 2526 หน้า 2-4)
                หมายถึงความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆโดยมมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดความคิดใหม่
ต่อเนื่องกันไป และความคิดสร้างสรรค์นี้ประกอบด้วยความคล่องในการคิดความคิดยืดหยุ่นและความคิดที่เป็นของตนเอง
โดยเฉพาะความคิดริเริ่ม
(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, ความคิดสร้างสรรค์ หลักการ ทฤษฎีการเรียนการสอนการลัดผลประเมินผล,
กรุงเทพฯ:2543, หน้า 2)
                สรุปความหมายความคิดสร้างสรรค์จากคำจำกัดความที่ยกมาเป็นตัวอย่าง พอสรุปความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ได้ดังนี้
    1.      ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากจินตนาการที่ตั้งอยู่บนสมมติฐานของความเป็นไปได้ และต้องควบคู่ไปกับความพยายาม
    (ที่จะทำให้เป็นไปได้)
    2.      ความคิดสร้างสรรค์จะเน้นที่ความแปลกใหม่/ใช้โครงเก่าวางรูปใหม่
    3.      เป็นความคิดที่มีคุณค่าแก่ส่วนรวมในแง่แก้ปัญหาและให้คุณในการดำเนินชีวิตใหม่ในแง่นามธรรมหรือสุนทรียะ
    ก่อเกิดสุข
ระดับความคิดเชิงสร้างสรรค์อาจกำหนดระดับความคิดสร้างสรรค์ได้ 3 ระดับดังนี้
    1. ระดับบุคคล ระดับต่ำสุด คิดคนเดียวไม่คำนึงว่าใครจะคล้อยตามหรือไม่
    2. ระดับกลุ่ม คนอื่นในกลุ่มเห็นด้วยว่าสามารถแก้ปัญหาได้และเห็นว่ามีคุณค่าทางสุนทรียะ
    3. ระดับสังคมถือว่าเป็นระดับสูงสุด เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป เช่น เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ เป็นต้น
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์
    1. ความคิดริเริ่ม
    2. มีความคล่องแคล่ว
    3. มีความยืดหยุ่น
    4. มีความละเอียดลออ
กระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ (Creative Process)  นักการศึกษาได้ประมวลกระบวนการความคิดสร้างสรรค์
ไว้ดังต่อไปนี้
    ขั้นที่ 1. การค้นหาความจริง
    ขั้นที่ 2. การค้นหาปัญหา
    ขั้นที่ 3. การตั้งสมมติฐาน
    ขั้นที่ 4. การค้นหาคำตอบ
    ขั้นที่ 5. การยอมรับผลจากการค้นพบ
นักการศึกษามีความเห็นแตกต่างกัน บางรายก็บอกว่ามี 4 ขั้น บางรายบอกว่ามี 7 ขั้นตอน อย่างไรก็ตามแต่ละคนมีความเห็น
คล้ายๆกัน
ลักษณะบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์
นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ทัศนะไว้ พอสรุปได้ 9 ประการดังนี้
    1. เป็นตัวของตัวเอง
    2. รักที่จะห้าวไปข้างหน้า
    3. ไวต่อปัญหา
    4. มีความสามารถในการใช้สมาธิ
    5. มีความคิดริเริ่ม
    6. ยอมรับในสิ่งที่ไม่แน่นอน
    7. ไม่ชอบทำตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์
    8. มีอารมณ์ขัน
    9. ควรมีพื้นฐานหลายอย่างดังต่อไปนี้
      9.1  ความรู้พื้นฐาน (Knowledge)
      9.2  จินตนาการ (Imagination)
      9.3  วิจารณญาณ (Judgment)

การส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ทัศนะว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาเพิ่มพูนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรงกระทำได้โดยการสอนและฝึกอบรม ส่วนทางอ้อมเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาและความมานะพยายาม ดังนี้
    1. ยอมรับคุณค่าและความสามารถของบุคคลอย่างไม่มีเงื่อนไข
    2. แสดงและเน้นให้เห็นว่าความคิดของเขามีคุณค่า และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
    3. ให้ความเข้าใจและเห็นใจในตัวบุคคลที่มีความคิดแหวกแนวจากผู้อื่น
    4. อย่าพยายามกำหนดแบบเพื่อให้ทุกคนมีความคิดและบุคลิกภาพเดียวกัน
    5. อย่าสนับสนุนให้รางวัลเฉพาะผลงานที่มีผู้ทดลองทำเป็นที่ยอมรับกันแล้ว ควรให้ผลงานแปลกใหม่มีโอกาสบ้าง
    6. ส่งเสริมให้ใช้จินตนาการตนเอง โดยยกย่องชมเชยเมื่อมีจินตนาการแปลกและมีคุณค่า
    7. กระตุ้นและให้เรียนรู้ด้วยตนเอง
    8. ส่งเสริมให้ถามและให้ความสนใจต่อคำถาม รวมทั้งชี้แนะแหล่งคำตอบ
    9. ตั้งใจและเอาใจใส่ความแปลกๆของบุคคล และยอมรับว่าการพัฒนาควมคิดสร้างสรรค์
ต้องการเวลาอุปสรรคที่สกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์
    1. การต้องการคำตอบถูกเพียงคำตอบเดียว
    2. การจำกัดความคิดตนเอง
    3. ความเคยชิน
    4. การไม่สนใจสิ่งที่ท้าทายความคิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น