วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำประสม

คำประสม คือ คำที่เกิดจากการนำคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป และมีความหมายต่างกันมาประสมกันเป็นคำใหม่คำมูลที่นำมาประสมกันอาจเป็นคำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ และบุพบท
          นาม+นาม หัวใจ
          นาม+กริยา บ้านเช่า
          นาม+สรรพนาม เพื่อนฝูง
          นาม+วิเศษณ์ น้ำแข็ง
          นาม + บุพบท คนนอก
          วิเศษณ์+กริยา ดื้อดึง
          วิเศษณ์ +วิเศษณ์ หวานเย็น


หน้าที่ของคำประสม
๑. ทำหน้าที่เป็นนาม, สรรพนาม เช่น พ่อครัว พ่อบ้าน แม่พระ ลูกเสือ น้ำตก ช่างไม้ ชาวบ้าน เครื่องบิน
หัวใจ นักการเมือง หมอตำแย ของเหลว
๒. ทำหน้าที่เป็นกริยา เช่น เสียเปรียบ กินแรง กินนอกกินใน อ่อนใจ ดีใจ เล่นตัว วางตัว ออกหน้า หักหน้า
ลองดี ไปดี
๓. ทำหน้าที่เป็นวิเศษณ์ เช่น กินขาด ใจร้าย ใจเพชร ใจร้อน หลายใจ คอแข็ง
๔. ใช้ในเชิงเปรียบเทียบ เช่น - ก้มหน้า หมายถึง จำทน
แกะดำ หมายถึง คนที่ทำอะไรผิดจากผู้อื่นในกลุ่ม
ถ่านไฟเก่า หมายถึง หญิงชายที่เลิกร้าง
ไก่อ่อน หมายถึง ยังไม่ชำนาญ
นกต่อ หมายถึง คนที่ติดต่อหรือชักจูงผู้อื่นให้หลงเชื่อ


การสร้างคำประสม
๑. สร้างจากคำไทยทุกคำ เช่น แม่น้ำ ที่ราบ ลูกช้าง หมดตัว กินที่ แม่ยาย
๒. สร้างจากคำไทยกับคำภาษาต่างประเทศ เช่น เผด็จการ นายตรวจ ของโปรด
๓. สร้างจากคำภาษาต่างประเทศทั้งหมด เช่น รถเมล์ รถบัส รถเก๋ง กิจจะลักษณะ
๔. สร้างคำเลียนแบบคำสมาส แต่ปนกับคำไทย เช่น ผลไม้ คุณค่า พระอู่ เทพเจ้า พระที่นั่ง ทุนทรัพย์

ข้อสังเกตของคำประสม
๑. คำประสมอาจเกิดจากคำต่างชนิดรวมกัน เช่น กินใจ (คำกริยา+คำนาม) นอกเรื่อง (คำบุพบท+คำนาม)
๒. คำประสมเกิดจากคำหลายภาษารวมกัน เช่นรถเก๋ง (บาลี+จีน) เครื่องอิเล็กโทน (ไทย+อังกฤษ)
๓. คำที่ขึ้นต้นด้วย ผู้ นัก เครื่อง ช่าง หมอ ของ เป็นคำประสม เช่น ผู้ดี, นักเรียน, ชาวนา, เครื่องยนต์


ลักษณะของคำประสม
๑. คำประสมที่นำคำมูลที่มีเนื้อความต่างๆ มาประสมกัน แล้วได้ใจความเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น “หาง” หมายถึง ส่วนท้ายของสัตว์ กับ “เสือ” หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง รวมกันเป็นคำประสมว่า “หางเสือ” แปลว่า เครื่องถือท้ายเรือ และคำอื่นๆ เช่น ลูกน้ำ แม่น้ำ แสงอาทิตย์ (งู) เป็นต้น คำเหล่านี้มีความหมายต่างกับคำมูลเดิมทั้งนั้น คำประสมพวกนี้ถึงแม้ว่ามีใจความแปลกออกไปจากคำมูลเดิมก็ดี แต่ก็ต้องอาศัยเค้าความหมายของคำมูลเดิมเป็นหลักเหมือนกัน ถ้าเป็นคำที่ไม่มีเค้าความเนื่องจากคำมูลเลย แต่เผอิญมาแยกออกเป็นคำมูลได้นับว่าเป็นคำประสมจะนับเป็นคำมูล
๒. คำประสมที่เอาคำมูลหลายคำซึ่งทุกๆ คำก็มีเนื้อความคงที่ แต่เมื่อเอามารวมกันเข้าเป็นคำเดียวก็มี
เนื้อความผิดจากรูปเดิมไป ซึ่งถ้าแยกออกเป็นคำๆ แล้วจะไม่ได้ความดังที่ประสมกันอยู่นั้นเลย
๓. คำประสมที่เอาคำมูลมีรูปหรือเนื้อความซ้ำกันมารวมกันเป็นคำเดียว คำเหล่านี้บางทีก็มีเนื้อความคล้ายกับคำมูลเดิม บางทีก็เพี้ยนออกไปบ้างเล็กน้อย และอีกอย่างหนึ่งใช้คำมูลรูปไม่เหมือนกัน แต่เนื้อความอย่างเดียวกันรวมกันเข้าเป็นคำประสมซึ่งมีความหมายต่างออกไปโดยมาก
๔. คำประสมที่ย่อออกมาจากใจความมาก คำพวกนี้มีลักษณะคล้ายกับคำสมาสเพราะเป็นคำย่ออย่างเดียวกันรวมทั้งคำอาการนามที่มีคำว่าการหรือความนำหน้า
๕. คำประสมที่มาจากคำสมาสของภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ราชกุมาร (ลูกหลวง)
ข้อสังเกต มีคำหลายคำรวมกันเข้าเป็นกลุ่มหนึ่งๆ แต่ไม่ใช่คำประสมเพราะคำเหล่านี้ต่างก็ประกอบกันได้ความตามรูปเดิม

วิธีสร้างคำประสม คือ นำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไป และเป็นคำที่มีความหมายต่างกันมาประสมกันเป็นคำใหม่โดยใช้คำที่มีลักษณะเด่นเป็นคำหลักหรือเป็นฐาน แล้วใช้คำที่มีลักษณะรองมาขยายไว้ข้างหลัง คำที่เกิดขึ้นใหม่มีความหมายใหม่ตามเค้าของคำเดิม (พวกความหมายตรง) แต่บางทีใช้คำที่มีน้ำหนักความหมายเท่า ๆ กันมาประสมกัน ทำให้เกิดความพิสดารขึ้น (พวกความหมายอุปมาอุปไมย) เช่น
          1. พวกความหมายตรง และอุปมา (น้ำหนักคำไม่เท่ากัน)
                    นาม + นาม เช่น โรงรถ เรืออวน ขันหมาก ข้าวหมาก น้ำปลา สวนสัตว์
                    นาม + กริยา เช่น รือแจว บ้านพัก คานหาม กล้วยปิ้ง ยาถ่าย ไข่ทอด
                    นาม + วิเศษณ์ เช่น น้ำหวาน แกงจืด ยาดำ ใจแคบ ปลาเค็ม หมูหวาน
                    กริยา + กริยา เช่น พัดโบก บุกเบิก เรียงพิมพ์ ห่อหมก รวบรวม ร้อยกรอง
                    นาม + บุพบท หรือ สันธาน เช่น วงใน ชั้นบน ของกลาง ละครนอก หัวต่อ เบี้ยล่าง
                    นาม + ลักษณะนาม หรือ สรรพนาม เช่น ลำไพ่ ต้นหน คุณนาย ดวงตา เพื่อนฝูง ลูกเธอ
                    วิเศษณ์ + วิเศษณ์ เช่น หวานเย็น เปรี้ยวหวาน เขียวหวาน


ใช้คำภาษาต่างประเทศประสมกับคำไทย เช่น เหยือกน้ำ เหยือก เป็นคำภาษาอังกฤษ โคถึก ถึก เป็นคำภาษาพม่า แปลว่า หนุ่ม นาปรัง ปรัง เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ฤดูแล้ง เก๋งจีน จีน เป็นภาษาจีน พวงหรีด หรีด เป็นคำภาษาอังกฤษ

          2. พวกความหมายอุปมาอุปไมย
คำประสมพวกนี้มักมีความหมายเป็นสำนวน และมักนำคำอื่นมาประกอบด้วย เช่น หน้าตา ประกอบเป็น หน้าเฉย ตาเฉย นับหน้าถือตา เชิดหน้าชูตาบางคำประสมกันแล้วหาคำอื่นมาประกอบให้สัมผัสคล้องจองตามวิธีของคนเจ้าบทเจ้ากลอนเพื่อให้ได้คำใหม่เป็นสำนวน เช่น กอดจูบลูบคลำ คู่ผัวตัวเมีย จับมือถือแขนเย็บปักถักร้อย หน้าใหญ่ใจโต ลูกเล็กเด็กแดงให้สังเกตว่าที่ยกมานี้คล้ายวลี ทุกคำในกลุ่มนี้มีความหมายแต่พูดให้คล้องจองกันจนเป็นสำนวนติดปาก แต่มีบางคำดังตัวอย่างต่อไปนี้ ที่บางตัวไม่มีความหมายเพียงแต่เสริมเข้าให้คล้องจองเท่านั้น เช่น กำเริบเสิบสาน โกหกพกลม ขี้ปดมดเท็จ รู้จักมักจี่ หลายปีดีดัก ติดสอยห้อยตามบางทีซ้ำเสียงตัวหน้าแล้วตามด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ทำให้เป็นกลุ่มคำที่เป็นสำนวนขึ้น เช่น ตามมีตามเกิด ตามบุญตามกรรม ขายหน้าขายตา ติดอกติดใจ กินเลือดกินเนื้อ ฝากเนื้อฝากตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น