วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำซ้ำ

คำซ้ำ   คือ  คำที่เกิดจากการซ้ำเสียงคำเดียวกันตั้งแต่   ๒ หน ขึ้นไป  เพื่อทำให้เกิด        
                                     คำใหม่ได้ความหมายใหม่   เช่น  ดำ  ๆ      หวาน  ๆ    คอยค้อยคอย
                                                                       
                                        ชนิดของคำไทยที่เอามาซ้ำกัน 
                                      ในภาษาไทยเราสามารถเอาคำทุกชนิดมาซ้ำได้   ดังนี
                                       ๑. ซ้ำคำนาม        เช่น พี่  ๆ    น้อง ๆ    เด็ก ๆ   
                                       ๒. ซ้ำคำสรรพนาม  เช่น เขา  ๆ   เรา ๆ     คุณ ๆ
                                       ๓. ซ้ำคำวิเศษณ์    เช่น เร็ว  ๆ   ไว  ๆ    ช้า  ๆ
                                       ๔. ซ้ำคำกริยา      เช่น นั่ง  ๆ   นอน  ๆ     เดิน  ๆ
                                       ๕. ซ้ำคำบุรพบท   เช่น ใกล้  ๆ   ไกล   ๆ   เหนือ  ๆ
                                       ๖. ซ้ำคำสันธาน    เช่น ทั้ง  ๆ   ที่     เหมือน   ๆ     ราว   ๆ    กับ
                                       ๗. ซ้ำคำอุทาน     เช่น โฮ  ๆ     กรี๊ด  ๆ
                                                              
                                  ลักษณะของการซ้ำคำในภาษาไทย

       ๑. ซ้ำคำเดียวกัน   ๒  หน  ระดับเสียงวรรณยุกต์คงเดิม  เช่น  เร็ว  ๆ  หนุ่ม  ๆ    หนัก  ๆ   เบา ๆ                      
       ๒. ซ้ำคำเดียวกัน   ๒   หน  โดยเน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่คำหน้า  เช่น  ว้าน  หวาน  นักหนา    
            จ๊นจน   อร้อยอร่อย
       ๓. ซ้ำคำเดียวกัน   ๓  หน  โดยเน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่คำกลาง เช่น  ดีดี๊ดี คมค้มคม จืดจื๊ด จืด   สวย  ซ้วยสวย
       ๔. ซ้ำคำประสม  ๒  พยางค์  ๒  หน  โดยเน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่พยางค์   หลังของคำหน้า  เช่น 
              เจ็บใจ๊เจ็บ
       ๕. ซ้ำคำเดียวกัน   ๒   หน     ระดับเสียงวรรณยุกต์คงเดิมแต่เกิดการกร่อนเสียงขึ้นอย่างที่บาลีเรียกว่า 
           อัพภาส  และสันสกฤตเรียกว่า   อัภยภาส   เช่น  ลิ่ว ๆ  เป็น   ละลิ่ว    ครืน ๆ  เป็น   คระครืน
            ซึ่งโดยมากใช้ในคำประพันธ์
  
                       ลักษณะความหมายของ
       ๑. บอกความหมายเป็นพหูพจน์  มักเป็นคำนามและสรรพนาม   เช่น
           เด็ก  ๆ  กำลังร้องเพลง พี่  ๆ  ไปโรงเรียน  หนุ่ม  ๆ  กำลังเล่นฟุตบอล
       ๒. บอกความหมายเป็นเอกพจน์   แยกจำนวนออกเป็นส่วน  ๆ   มักเป็นคำลักษณะ
           นาม   เช่นล้างชามให้สะอาดเป็นใบ  ๆ  ไสกบไม้ให้เป็นแผ่น  ๆ
       ๓. เน้นความหมายของคำเดิม   มักเป็นคำวิเศษณ์   เช่นพูดดัง  ๆ  ฟังดี  ๆ 
           นั่งนิ่ง  ๆ ถ้าต้องการเน้นให้เป็นจริงเป็นจังอย่างมั่นใจมากขึ้น   
           เราก็เน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่คำหน้า  เช่น เสียงดั้งดัง พูดดี๊ดี  ช่างเงี้ยบเงียบ
       ๔. ลดความหมายของคำเดิม  มักเป็นคำวิเศษณ์บอกสี   เช่นเสื้อสีแดง  ๆ 
           กางเกงสีดำ  ๆ  บ้านสีขาว ๆแต่ถ้าเน้นระดับเสียงวรรณยุกต์ที่คำหน้า   
           ก็จะเป็นการเน้นความหมายของคำเดิม  เช่น เสื้อสีแด๊งแดง กางเกงสีด๊ำดำ บ้านสีค้าวขาว
       ๕. บอกความหมายโดยประมาณทั้งที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ ดังนี้
           ก. บอกเวลาโดยประมาณ   เช่น สมศรีชอบเดินเล่นเวลาเย็น  ๆ, เขาตื่นเช้าๆ เสมอ, น้ำค้างจะลงหนักเวลาดึก  ๆ
           ข. บอกสถานที่โดยประมาณ   เช่น มีร้านขายหนังสือแถว  ๆ   สี่แยก , รถคว่ำกลาง  ๆ   สะพาน
               ต้นประดู่ใหญ่อยู่ใกล้ ๆ  โรงเรียน
        ๖. บอกความหมายสลับกัน  เช่น เขาเดินเข้า  ๆ   ออก  ๆ อยู่ตั้งนานแล้ว
           ฉันหลับ  ๆ  ตื่น  ๆ   ตลอดคืน สมหมายได้แต่นั่ง  ๆ   นอน  ๆ    ทั้งวัน
        ๗. บอกความหมายเป็นสำนวน  เช่นงู   ๆ   ปลา  ๆดี  ๆ      ชั่ว   ๆ
             ไปๆ  มา  ๆถู  ๆ  ไถ   ๆ
        ๘. บอกความหมายแสดงการเปรียบเทียบชั้นปกติ    ชั้นกว่า    และขั้นสุด    เช่น
                 ขั้นปกติ  ขั้นกว่า  ขั้นสุด
                 หลวม ๆ หลวม  ล้วมหลวม
                 เบา ๆ  เบา  เบ๊าเบา
             การสร้างคำแบบคำประสม  คำซ้อน  และคำซ้ำ   นี้เป็นวิธีการสร้างคำที่เป็น
             ระเบียบวิธีของภาษาไทยของเราเอง   แต่การสร้างคำใหม่ในภาษาไทยไม่ได้มี 
             เพียง  ๔   วิธีเท่านั้น เรายังมีวิธีการสร้างคำใหม่  ๆ  ขึ้นใช้ในภาษาไทยด้วย วิธีการอื่น   ๆ  อีก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น